Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10814
Title: การนำเทคโนโลยีการผลิตข้าวไปปฏิบัติของเกษตรกรในอำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี
Other Titles: Application into practice of rice production technology by farmers in Mueang District of Sing Buri Province
Authors: สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นารีรัตน์ สีระสาร, อาจารย์ที่ปรึกษา
กนกพร พงษ์พานิช, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ข้าว--การผลิต--เทคโนโลยีที่เหมาะสม
เทคโนโลยีการเกษตร--ไทย
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกร (3) การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกร และ (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตข้าวของเกษตรกร ประชากรในการวิจัย คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในอำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี ปีการเพาะปลูก 2561 จำนวน 2,083 ราย คำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรของทาโร่ ยามาเน่ ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้จำนวน 246 ราย แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ เกษตรกรทั่วไปที่ปลูกข้าว และเกษตรกรสมาชิกนาแปลงใหญ่ สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ และการทดสอบค่าที ผลการศึกษาพบว่า (1) เกษตรกรทั่วไปมีอายุเฉลี่ย 54.89 ปี และเกษตรกรสมาชิกนาแปลงใหญ่มีอายุเฉลี่ย 60.63 ปี เกษตรกรมากกว่ากึ่งหนึ่งของทั้ง 2 กลุ่ม จบการศึกษาระดับประถมศึกษา เกษตรกรส่วนใหญ่ของทั้ง 2 กลุ่ม ผลิตข้าวเป็นอาชีพหลักและทำการผลิตข้าว 2 ครั้งต่อปี เกษตรกรทั่วไปมีพื้นที่ทำนาเฉลี่ย 20.14 ไร่ ต้นทุนการผลิตข้าวเฉลี่ย 3,505.67 บาทต่อไร่ ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 14.07 ตัน รายได้เฉลี่ย 4,847.95 บาทต่อไร่ เกษตรกรสมาชิกนาแปลงใหญ่มีพื้นที่ทำนาเฉลี่ย 24.48 ไร่ ต้นทุนการผลิตข้าวเฉลี่ย 3,148.40 บาทต่อไร่ ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 20.04 ตัน รายได้เฉลี่ย 5,928.42 บาทต่อไร่ (2) มากกว่าครึ่งของเกษตรกรทั้ง 2 กลุ่ม มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตข้าวในระดับปานกลาง และมากกว่าสองในห้ามีความรู้ในระดับมาก (3) เกษตรกรทั่วไประบุว่าเทคโนโลยีการผลิตข้าวมีความยุ่งยากในระดับปานกลางและนำไปปฏิบัติในระดับมาก ส่วนเกษตรกรสมาชิกนาแปลงใหญ่ระบุว่าเทคโนโลยีการผลิตข้าวมีความยุ่งยากในระดับน้อยและนำไปปฏิบัติในระดับมากที่สุด (4) เกษตรกรทั่วไปมีปัญหาเรื่องการแบ่งพื้นที่แปลงนาเป็นแปลงย่อย การซื้อเมล็ดพันธุ์ที่ไม่มีป้ายแสดงคุณภาพ ขาดการปลูกพืชบำรุงดิน และการทำความสะอาดเครื่องมือเก็บเกี่ยวข้าว ส่วนเกษตรกรสมาชิกนาแปลงใหญ่มีปัญหาเรื่อง การไถดะเพื่อกำจัดข้าวเรื้อ การทดสอบความงอกของเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก การปลูกพืชบำรุงดิน และการทำความสะอาดเครื่องมือเก็บเกี่ยวข้าว ดังนั้น เกษตรกรทั้ง 2 กลุ่ม จึงเสนอแนะให้ส่งเสริมการทำความสะอาดเครื่องมือเก็บเกี่ยวข้าว การแบ่งพื้นที่แปลงนาเป็นแปลงย่อย และการเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้ใช้เอง เมื่อเปรียบเทียบทางด้านต่าง ๆ พบว่า เกษตรกรทั้ง 2 กลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในเรื่อง อายุเกษตรกร ขนาดพื้นที่ทำนา ผลผลิตและราคาข้าว ต้นทุนและรายได้ ตลอดจนปัญหาต่าง ๆ ในการผลิตข้าว
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10814
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.13 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons