กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10824
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมการปลูกพืชตามเขตความเหมาะสมของพื้นที่ของเกษตรกรแปลงใหญ่ทุเรียนในจังหวัดระยอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extention guidline of durian production of zoning for co-farmers in Rayong Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นารีรัตน์ สีระสาร, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ดาริน สุขหงษ์, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ทุเรียน--การปลูก
การปลูกพืช
การส่งเสริมการเกษตร--แง่เศรษฐกิจ--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) สภาพการผลิตทุเรียนของเกษตรกร (3) ความรู้ในการปลูกทุเรียนตามเขตความเหมาะสมของเกษตรกร (4) ความต้องการส่งเสริมการปลูกทุเรียนตามเขตความเหมาะสมของเกษตรกร (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะการผลิตทุเรียนตามเขตความเหมาะสมของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 51.38 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีจำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3.77 คน มีประสบการณ์ในการปลูกทุเรียนเฉลี่ย 17.9 ปี มีพื้นที่ปลูกทุเรียนเฉลี่ย 10.18 ไร่ มีที่ดินเป็นของตัวเอง ใช้แหล่งเงินทุนตนเอง (2) สภาพการผลิตทุเรียนเป็นดินทราย แหล่งน้ำที่ใช้ในมาจากการขุดบ่อน้ำใช้เองในสวน ระบบการให้น้ำแบบฉีดฝ่อย (สปริงเกิล) ผลผลิตทุเรียนเฉลี่ย 10,980.95 กก./ปี ต้นทุนการผลิตทุเรียนเฉลี่ย 164,514.88 บาท/ปี รายได้จากการผลิตทุเรียนเฉลี่ย 485,690.48บาท/ปี (3) เกษตรกรมีความรู้เรื่องด้านน้ำ แต่ขาดมีความรู้เรื่องดิน (4) เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมด้านการผลิต (5) เกษตรกรมีปัญหาด้านการปลูกและการดูแลรักษาทุเรียน และดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ข้อเสนอแนะควรให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมให้ความรู้เรื่องดินและการปลูกพร้อมทั้งการดูแลรักษาทุเรียน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10824
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons