Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10835
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorจินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสุภารัตน์ ชูชัย, 2530--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-12-14T06:54:18Z-
dc.date.available2023-12-14T06:54:18Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10835-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) สภาพการผลิตและการตลาดมังคุดของเกษตรกร (3) การปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร (4) ข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการผลิตมังคุดตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรและ (5) การได้รับและความต้องการในรูปแบบและวิธีการส่งเสริมการผลิตมังคุดตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกมังคุดกับกรมส่งเสริมการเกษตรในอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ปี 2561 จำนวน 2,321 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 188 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยใช้วิธีจับฉลาก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 55.21 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ไม่เป็นสมาชิกกลุ่ม/องค์กรการเกษตร มีประสบการณ์ในการปลูกมังคุดเฉลี่ย 18.72 ปี ส่วนใหญ่ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี จำนวนสมาชิกในครัวเรือน เฉลี่ย 4 คน แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.30 คน พื้นที่ปลูกมังคุดเฉลี่ย 5.13 ไร่ รายได้เฉลี่ยในรอบฤดูกาล/ไร่ 14,352.66 บาท รายจ่ายเฉลี่ยในรอบฤดูกาล/ไร่ 5,711.97 บาท (2) พื้นที่ปลูกมังคุดเป็นพื้นที่ราบ ดินร่วน ปลูกในลักษณะสวนผสม มีระยะการปลูก 8*8 เมตร ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สูตร 8-24-24 และสูตร 13-13-21 ให้น้ำโดยใช้ระบบสปริงเกอร์ พบการระบาดเพลี้ยไฟในระดับมาก เกษตรกรใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัด เก็บเกี่ยวในระยะผลมีสายเลือดช่วงเดือน กรกฎาคม ถึงสิงหาคม มีผลผลิตเฉลี่ย 487.48 กิโลกรัมต่อไร่ จำหน่ายผลผลิตให้กับผู้รวบรวมในท้องถิ่น กำหนดราคาโดยผู้รับซื้อ ซึ่งเกษตรกรไม่มีวิธีการเพิ่มอำนาจการต่อรองราคา ราคาผลผลิตเฉลี่ย นอกฤดูกาล 91.16 บาท/กก. ในฤดูกาล 37.8 บาท/กก. (3) เกษตรกรส่วนใหญ่มีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีทุกประเด็น ยกเว้น การจดบันทึกข้อมูล การผลิตให้ปลอดภัยจากศัตรูพืช การจัดการกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพ โดยมีสาเหตุ คือความยุ่งยากในการจัดการ การขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (4) เกษตรกรเสนอแนะให้มีเจ้าหน้าที่ ให้ความรู้ คำปรึกษา สนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร ประชาสัมพันธ์ และอำนวยความสะดวกในการขอรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (5) เกษตรกรต้องการความรู้เกี่ยวกับการผลิตมังคุดตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีระดับมากที่สุด โดยช่องทางการส่งเสริมสื่อบุคคล คือหน่วยงานราชการ สื่อสิ่งพิมพ์ คือคู่มือ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือโทรทัศน์ วิธีการส่งเสริมแบบบรรยายth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมังคุด--การผลิต--ไทย--นครศรีธรรมราชth_TH
dc.subjectการส่งเสริมการเกษตร--ไทย--นครศรีธรรมราชth_TH
dc.titleแนวทางการส่งเสริมการผลิตมังคุดตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรในอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราชth_TH
dc.title.alternativeExtension guidelines for mangosteen production according to good agricultural practice of in Thasala District, Nakhon Sri Thammarat Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study (1) basic personal, social and economic conditions of farmers (2) mangosteen production and market conditions of farmers (3) the operations in accordance with good agricultural practice of farmers (4) suggestions and extension guidelines for mangosteen production according to good agricultural practices of farmers and (5) the receiving and needs in the patterns and methods of mangosteen production extension according good agricultural practice of farmers. The population of this study was 2,321 mangosteen production farmers who had registered with department of agricultural extension in Thasala district in the year 2018. The sample group of 188 people was selected by using Taro Yamane formula with the error value of 0.07 through simple random sampling method with lottery. Data was analyzed using computer package program. Statistics used in this study were such as frequency, percentage, minimum value, maximum value, standard deviation, and content analysis. The results of the research stated that (1) most of the farmers were female with the average age of 55.21 years and completed compulsory primary education. They were not members of any agricultural groups/institutions and had approximately 18.72 years of experience in mangosteen production. Most of the farmers did not pass the certification according to good agricultural practice. The average household members were 4 people and the average labors in the household were 2.30 people. The average area for mangosteen production was 5.13 Rai. The average income in a seasonal cycle/ Rai was at 14,353.66 Baht and the average expense in a seasonal cycle/ Rai was at 5,711.97 Baht. (2) The area for mangosteen production was a flat land with loam soil. The plantation was a mixed plantation with planting distance of 8*8 meters. Fertilizers that were used were 15-15-15 formula, 8-24-24 formula, and 13-13-21 formula. Sprinkler was used for irrigation. Trips epidemic was found at the high level and farmers chose chemical in pest controls. The harvest was done during July to August when the fruit had red vessels. The average productivity was 487.48 kilogram per Rai. They sold their products to local collectors. The collectors determined the selling price and farmers did not have price negotiation power. The average product price off-season was 91.16 Baht/kilograms, while in-season price was 37.8 Baht/kilograms. (3) Most of the farmers had good agricultural practices in every aspects except for data recording, safety production from pests, and production process management for quality products with the reasons of complicated management and lack of knowledge and understanding about good agricultural practice. (4) Farmers suggested that the officers should provide knowledge and consultation, support the group formation, promote and accommodate the good agricultural practice certification request. (5) Farmers wanted to received knowledge about good agricultural practice for mangosteen production at the highest level through the extension channels of personal media that was government agencies, printing media that was guidelines, and electronic media that was television with extension method of lecturesen_US
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.67 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons