กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10835
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมการผลิตมังคุดตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรในอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension guidelines for mangosteen production according to good agricultural practice of in Thasala District, Nakhon Sri Thammarat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุภารัตน์ ชูชัย, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มังคุด--การผลิต--ไทย--นครศรีธรรมราช
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย--นครศรีธรรมราช
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) สภาพการผลิตและการตลาดมังคุดของเกษตรกร (3) การปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร (4) ข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการผลิตมังคุดตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรและ (5) การได้รับและความต้องการในรูปแบบและวิธีการส่งเสริมการผลิตมังคุดตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกมังคุดกับกรมส่งเสริมการเกษตรในอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ปี 2561 จำนวน 2,321 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 188 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยใช้วิธีจับฉลาก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 55.21 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ไม่เป็นสมาชิกกลุ่ม/องค์กรการเกษตร มีประสบการณ์ในการปลูกมังคุดเฉลี่ย 18.72 ปี ส่วนใหญ่ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี จำนวนสมาชิกในครัวเรือน เฉลี่ย 4 คน แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.30 คน พื้นที่ปลูกมังคุดเฉลี่ย 5.13 ไร่ รายได้เฉลี่ยในรอบฤดูกาล/ไร่ 14,352.66 บาท รายจ่ายเฉลี่ยในรอบฤดูกาล/ไร่ 5,711.97 บาท (2) พื้นที่ปลูกมังคุดเป็นพื้นที่ราบ ดินร่วน ปลูกในลักษณะสวนผสม มีระยะการปลูก 8*8 เมตร ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สูตร 8-24-24 และสูตร 13-13-21 ให้น้ำโดยใช้ระบบสปริงเกอร์ พบการระบาดเพลี้ยไฟในระดับมาก เกษตรกรใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัด เก็บเกี่ยวในระยะผลมีสายเลือดช่วงเดือน กรกฎาคม ถึงสิงหาคม มีผลผลิตเฉลี่ย 487.48 กิโลกรัมต่อไร่ จำหน่ายผลผลิตให้กับผู้รวบรวมในท้องถิ่น กำหนดราคาโดยผู้รับซื้อ ซึ่งเกษตรกรไม่มีวิธีการเพิ่มอำนาจการต่อรองราคา ราคาผลผลิตเฉลี่ย นอกฤดูกาล 91.16 บาท/กก. ในฤดูกาล 37.8 บาท/กก. (3) เกษตรกรส่วนใหญ่มีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีทุกประเด็น ยกเว้น การจดบันทึกข้อมูล การผลิตให้ปลอดภัยจากศัตรูพืช การจัดการกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพ โดยมีสาเหตุ คือความยุ่งยากในการจัดการ การขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (4) เกษตรกรเสนอแนะให้มีเจ้าหน้าที่ ให้ความรู้ คำปรึกษา สนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร ประชาสัมพันธ์ และอำนวยความสะดวกในการขอรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (5) เกษตรกรต้องการความรู้เกี่ยวกับการผลิตมังคุดตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีระดับมากที่สุด โดยช่องทางการส่งเสริมสื่อบุคคล คือหน่วยงานราชการ สื่อสิ่งพิมพ์ คือคู่มือ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือโทรทัศน์ วิธีการส่งเสริมแบบบรรยาย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10835
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.67 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons