กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10842
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้สมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลในการปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรของอาสาสมัครเกษตรในจังหวัดชัยนาท
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to the use of the Doae Farmbook application to improve farmers registration of agricultural volunteers in Chai Nat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อังคณา คล้ายสุบรรณ, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
เกษตรกร--ไทย--ชัยนาท--ฐานข้อมูล
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของอาสาสมัครเกษตร (2) สภาพการปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรและความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้สมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลในการปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรของอาสาสมัครเกษตร (3) สภาพการใช้และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกันการใช้สมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลในการปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรของอาสาสมัครเกษตร (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้สมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลในการปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรของอาสาสมัครเกษตร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ อาสาสมัครเกษตรในจังหวัดชัยนาทที่ได้รับคัดเลือกในปี 2562 จำนวน 505 ราย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ ที่ความคลาดเคลื่อน (0.05 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 24 คน และสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ด้วยการจับสลากจากรายชื่อ จัดเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัย พบว่า (1) อาสาสมัครเกษตรร้อยละ 52.7 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 43.33 ปี ร้อยละ 29.5 จบมัธยมศึกษาตอนปลาย ปวช. ร้อยละ 51.5 ไม่มีสถานภาพสังคม (2) อาสาสมัครเกษตรได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรมาแล้วเฉลี่ย 6.68 ปี โดยดำเนินการเฉลี่ย 1.44 ครั้งต่อปี ร้อยละ 91.6 ดำเนินการด้วยตนเอง โดยเห็นด้วยกับการปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรแบบเดิมในระดับปานกลาง และเห็นด้วยกับกรใช้งานสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัล โดยภาพรวมในระดับมาก (3) อาสาสมัครเกษตรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้สมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัล ในภาพรวม ด้านความถี่อยู่ในระดับปานกลาง ด้านความง่ายในการใช้อยู่ในระดับปานกลาง และด้านการรับรู้ถึงความง่าย ประโยชน์ และความตั้งใจใช้ อยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความถี่ในการใช้งานสมอ ทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลที่ระดับนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ 0.01 ได้แก่ การรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน และการศึกษาหรือได้รับความรู้ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ได้แก่ สถานภาพทางสังคม ความตั้งใจใช้งาน อายุ และความพึงพอใจ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความง่ายในการใช้งานสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลระดับนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ 0.01 ได้แก่ การรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน และความตั้งใจใช้งาน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ได้แก่ คุณลักษณะที่เข้ากันได้ การรับสารข้อมูลข่าวสาร การรับรู้ถึงความง่าย และระดับการศึกษา (4) อาสาสมัครเกษตรมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้สมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้สมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลในประเด็นต่างๆ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10842
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons