กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10846
ชื่อเรื่อง: | การจัดการโซ่อุปทานผักเหมียงเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอาหารของจังหวัดภูเก็ต |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Supply Chain management of Pak-Miang (Gnetum gnemon linn. var. tenerum markgr.) for food tourism in Phuket Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา สุมาลี ผลรัตนไพบูลย์, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์ ผัก--ไทย ผัก--อุปทานและอุปสงค์ การท่องเที่ยวเชิงอาหาร--ไทย--ภูเก็ต |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความรู้และแหล่งความรู้ในการปลูกผักเหมียงของเกษตรกร (2) การจัดการการผลิต การเพิ่มมูลค่าสินค้าและการตลาดผักเหมียงเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอาหาร (3) ความคิดเห็นและความต้องการในการจัดการโซ่อุปทานผักเหมียงเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอาหาร และ (4) ปัญหา ข้อเสนอแนะและแนวทางการส่งเสริมการจัดการโซ่อุปทานผักเหมียงเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรมีความรู้การปลูกผักเหมียงภาพรวมในระดับมาก (2) เกษตรกรส่วนใหญ่มีการจัดการด้านการผลิต โดยไม่ใช้สารเคมีเกินครึ่งมีการใส่ปุ๋ยบำรุง การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่ายังมีน้อย มีเฉพาะกลุ่มแปลงใหญ่ผักเหมียง และส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับรอง GAP ด้านการตลาด เกษตรกรเกินครึ่งจำหน่ายในตลาดท้องถิ่น ส่วนใหญ่เกษตรกรเป็นผู้กำหนดราคาขาย (3) เกษตรกรมีความคิดเห็นในการจัดการผักเหมียงเพื่อการท่องเที่ยว โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพและไม่ใช้สารเคมีในการผลิต มากที่สุด และความคิดเห็นต่อการสนับสนุน ผักเหมียงให้เป็นวัตถุดิบสำหรับการพัฒนาอาหารเพื่อการท่องเที่ยวผู้ประกอบการร้านอาหารเห็นด้วยและควรส่งเสริมให้ปลูกมากขึ้น ผู้บริโภคเห็นด้วยเพราะผักเหมียงมีประโชชน์ เกษตรกรมีความต้องการในการจัดการผักเหมียงเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอาหารในการประชาสัมพันธ์ ผักเหมียงให้เป็นที่รู้จัก มากที่สุด และ (4) เกษตรกรมีปัญหาด้านการส่งเสริมผักเหมียงเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ในประเด็นขาดการสร้างความเป็นเอกลักษณ์ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10846 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 27.51 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License