Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10852
Title: ความต้องการการส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี
Other Titles: Extension needs of cassava production by farmers in Chai Badan District, Lop Buri Province
Authors: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พัทยา ชุมเพชร, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มันสำปะหลัง--ไทย--การผลิต.
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย--ลพบุรี
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกษตรกร ผู้ปลูกมันสำปะหลังในประเด็น (1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจ (2) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตมันสำปะหลัง (3) สภาพการผลิตมันสำปะหลัง (4) การได้รับการส่งเสริมและความต้องการการส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลัง และ (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลัง ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกร ร้อยละ 3.8 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 53 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 94.6 รับข้อมูลข่าวสารทางโทรทัศน์ มีผลผลิตเฉลี่ย 3,752.69 กิโลกรัม/ไร่ ต้นทุนเฉลี่ย 4,326.55 บาท/ไร่ รายได้เฉลี่ย 8,198.12 บาท (2) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการผลิตมันสำปะหลังในระดับมาก โดยเกษตรกรจำนวนมากที่สุด ร้อยละ 96.2 (3) เกษตรกรมีการปฏิบัติในขั้นตอนการผลิตมันสำปะหลังในระดับปานกลาง โดยจำนวนมากที่สุด ร้อยละ 94.1 (4) เกษตรกร ได้รับการส่งเสริมด้านความรู้การผลิตมันสำปะหลังในระดับน้อย และมีความต้องการการส่งเสริมในระดับมาก ได้รับการส่งเสริมในช่องทางต่าง ๆ และมีความต้องการการส่งเสริมในระดับปานกลาง เช่นเดียวกัน ได้รับการส่งเสริมในด้านการตลาดในระดับปานกลาง และมีความต้องการการส่งเสริมในระดับมาก ได้รับการส่งเสริมด้านการสนับสนุน ในระดับปานกลาง และมีความต้องการในระดับมาก (5) เกษตรกรมีปัญหาด้านการตลาดอยู่ในระดับปานกลาง
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10852
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.81 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons