กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10859
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลพลงตาเอี่ยม อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Political participation of people in the administration of Phlong Ta Iam subdistrict administrative organization in Wang Chan District, Rayong Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ฐปนรรต พรหมอินทร์, อาจารย์ที่ปรึกษา
รัตนา บัวนาค, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น --วิทยานิพนธ์
องค์การบริหารส่วนตำบลพลงตาเอี่ยม--การมีส่วนร่วมของประชาชน
การมีส่วนร่วมทางการเมือง--ไทย--ระยอง
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะของการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารงานส่วนตำบล (2) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลพลงตาเอี่ยม อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ผสมการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมี 2 กลุ่ม การวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ประชาชน จำนวน 367 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มบุคคลผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลพลงตาเอี่ยม จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า การวิจัยเชิงปริมาณ ด้านกิจกรรมการเลือกตั้ง ด้านการสนับสนุนกิจกรรมขององค์การบริหารส่วนตำบล ด้านการมีส่วนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลและด้านการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ทุกด้านอยู่ในระดับมาก สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า (1) ด้านกิจกรรมเลือกตั้ง ความจริงแล้วประชาชนสนใจและสนับสนุนการเลือกตั้ง แต่มีความเบื่อหน่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง จึงรู้สึกว่าการเลือกตั้งในปัจจุบันมีแต่ปัญหา (2) ด้านการสนับสนุนกิจกรรมขององค์การบริหารส่วนตำบล รัฐสนับสนุนให้ประชาชนบริจาคเงินให้พรรคการเมือง เพื่อให้ประชาชนมีความศรัทธาต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย (3) ด้านการมีส่วนร่วมในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมได้รวมถึงการเป็นแกนนำปลุกจิตสำนึกให้แก่ผู้อื่นในการร่วมกิจกรรมทางการเมือง (4) ด้านการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงานขององค์การบริหารส่วนตำบล มีการช่วยเหลือตรวจสอบการเลือกตั้ง เพื่อป้องกันการทุจริตในการเลือกตั้ง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.(การเมืองการปกครองท้องถิ่น))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10859
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.88 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons