กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10860
ชื่อเรื่อง: แนวทางส่งเสริมการผลิตกิ่งพันธุ์ไม้ผลของเกษตรกรจังหวัดเลย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension guidelines for the branches production of perennial fruit trees of farmers in the Loei Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จารุต วิชัยคำจร, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ผลไม้--การขยายพันธุ์
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรผู้ปลูกไม้ผล จังหวัดเลย (2) ความรู้และการผลิตกึ่งพันธุ์ไม้ผล (3) ปัญหา ข้อเสนอแนะในการผลิตกึ่งพันธุ์ไม้ผล (4) ความต้องการ และแนวทางส่งเสริมการผลิตกึ่งพันธุ์ไม้ผลให้แก่เกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 54.10 ปี จบประถมศึกษา ประสบการณ์เฉลี่ย 10.87 ปี สมาชิกครัวเรือนเฉลี่ย 4.51 คน ถือครองที่ดินเฉลี่ย 37.1 ไร่ ปลูกไม้ผลเฉลี่ย 592 ไร่รายได้จากสวนไม้ผลเฉลี่ย 63,827.22 บาท ได้รับข้อมูล ความรู้ ข่าวสารผ่านกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน โทรศัพท์ และการเข้าอบรม (2) เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้ในการผลิตกึ่งพันธุ์ในวิธี การตอนกิ่ง เพาะเมล็ด และปักชำ (3) เกษตรกรมีปัญหาระดับมาก คือ ไม่มีต้นแม่พันธุ์ดี ขาดความชำนาญในวิธีการ หลังอบรมที่ไม่ปฏิบัติ เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนสูง ปัจจัยการผลิตราคาสูง และขาดอุปกรณ์ เสนอแนะให้ส่งเสริมปลูกและผลิตกิ่งพันธุ์ไม้ผลที่เหมาะสมกับพื้นที่ อบรมเพื่อเพิ่มเติม 2-3 ครั้งต่อคน เน้นฝึกปฏิบัติพื้นที่จริง ติดตามผลปีละ 2-3 ครั้ง (4) ต้องการความรู้ระดับมากในประเด็นการจัดการกึ่งพันธุ์ดี การดูแลต้นแม่พันธุ์ การป้องกันกำจัดแมลงศัตรู การคัดเลือกกิ่งพันธุ์ดี โดยส่งเสริมผ่านช่องทางสื่อจากส่วนราชการ และคู่มือด้วยวิธี สาธิต การฝึกปฏิบัติ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))- - มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10860
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.95 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons