กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1086
ชื่อเรื่อง: การรับรู้ของบุคลากรสาธารณสุขจังหวัดหนองคายเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรตามระบบมาตรฐานสากลของประเทศไทยด้านการจัดการและสัมฤทธิผลของงานภาครัฐ ระบบมาตรฐาน 1104: ระบบการพัฒนาบุคลากร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Perceptions of health personnels about personnel development in Nongkai province, according to the Thailand International Public Sector Standard Management System and Outcomes P.S.O.1104: personnel development system
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมโภช รติโอฬาร
อุไรรัตน์ ศรีสม, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
นิตยา เพ็ญศิรินภา
คนองยุทธ กาญจนกูล
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
บุคลากรสาธารณสุข--ไทย--หนองคาย
การพัฒนาบุคลากร
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรับรู้ของบุคลากรสาธารณสุขจังหวัดหนองคายเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรในระบบมาตรฐาน 1104 (2) เปรียบเทียบการรับรู้เกี่ยวกับระบบมาตรฐาน P.S.O. 1104 บุคลากรสาธารณสุขจังหวัดหนองคายจากลักษณะส่วนบุคคล ลักษณะด้านเศรษฐกิจและสังคม ตำแหน่งทางราชการ และสิ่งสนับสนุนอื่นที่เกี่ยวข้อง (3) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการพัฒนาบุคลากรสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 338 คน สุ่มแบบชั้นภูมิจากบุคลากรสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย เครื่องมือคือแบบสอบถามที่พัฒนาเกณฑ์มาตรฐาน P.S.O.1104 ที่มีความเที่ยง .94 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ การทดสอบที การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว และการ ทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า (1) บุคลากรสาธารณสุขจังหวัดหนองคายมีการรับรู้เกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรตามเกณฑ์มาตรฐาน P.S.O.1104 อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 35.30 (2) อายุมากมีการรับรู้ มากกว่าอายุน้อยกว่าอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p-value=0.01) เพศหญิงกับเพศชายมีการรับรู้ไม่แตกต่างกัน ระดับการศึกษาสูง แตกต่างกันมีการรับรู้ไม่แตกต่างกัน รายได้สูงมีการรับรู้สูงกว่าผู้มีรายได้น้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) ประสบการณ์มากขึ้นมีการรับรู้มากกว่าผู้มีประสบการณ์น้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value =0.02) การเป็นคณะกรรมการ P.S.O มีการรับรู้มากกว่า ไม่ได้เป็น คณะกรรมการ P.S.O. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.01) ตำแหน่งผู้บริหารมีการรับรู้มากกว่าตำแหน่งผู้ปฏิบัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value=0.02) การได้รับ การอบรม P.S.O. มีการรับรู้มากกว่าการไม่ได้รับการอบรมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p-value<0.001) ผู้ที่ได้รับข้อมูลข่าวสาร มีการรับรู้มากกว่าผู้ที่ไม่ได้รับข้อมูลข่าวสาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) (3) ปัญหาอุปสรรคที่พบคือบุคลากรสาธารณสุขส่วนใหญ่ยังขาดความรู้เกี่ยวกับระบบมาตรฐาน P.S.O.1104 ไม่ได้รับข้อมูลข่าวสาร นโยบายไม่ชัดเจน ขาดผู้รับผิดชอบ โดยเฉพาะ โดยให้ข้อเสนอแนะว่าหน่วยงานควรมีนโยบายในการดำเนินงานชัดเจน สนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาบุคลากรและมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1086
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
82899.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.53 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons