กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10874
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยของเกษตรกรในจังหวัดชุมพร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines for extension of Apis Cerana culture of farmer in Chumphon Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
นารีรัตน์ สีระสาร, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุนันทา กำเหนิดโทน, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ผึ้งโพรง--ไทย--ครศรีธรรมราช --การเลี้ยง.
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรู้และแหล่งความรู้ในการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยของเกษตรกร 2) ความคิดเห็นและความต้องการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยของเกษตรกร 3) การเลี้ยงผึ้งโพรงไทย ของเกษตรกร 4) ผลกระทบด้านความปลอดภัย ค้านเศรษฐกิจ และสังคมจากการเข้าทำลายของช้างป่า 5) ปัญหาข้อเสนอแนะ และแนวทางในการส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยของเกษตรกรผลการวิจัย พบว่า 1) ความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด แหล่งความรู้ในการเลี้ยงผึ้งอยู่ในระดับปานกลาง 2) ความคิดเห็นและความต้องการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยอยู่ในระดับ 3) การเตรียมการเลี้ยงผึ้งโพรงไทย เกษตรกรเริ่มต้นโดยวิธีการล่อผึ้งโพรงจากธรรมชาติ ไม่ใช้คอน ใช้ผึ้งโพรงไทยป้องกันช้างป่าโดยวิชีวางรังผึ้งบนขาตั้งรังผึ้งโดยไม่ใช้โยงเชือก 4) ด้านผลกระทบ พบว่า เกษตรกร ได้รับผลกระทบจากช้างป่าเข้าทำลายพื้นที่การเกษตรโดยความถี่เฉลี่ย 6.60 ครั้งปี ความเสียหายแต่ละครั้งเฉสี่ย 1,560.75 บาท ระดับผลกระทบที่ได้รับจากช้างป่าด้านความปลอดภัยและด้านเศรษฐกิจอยู่ในระดับมาก ส่วนระดับผลกระทบที่ได้รับจากช้างป่าด้านสังคมอยู่ในระดับน้อย 5) ปัญหาที่พบในการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยอยู่ในระดับปานกลาง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))- - มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10874
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.87 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons