กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10886
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ประสิทธิภาพสูงและจุลินทรีย์จากตะกอนของระบบบำบัดน้ำเสียจากโรงอาหาร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Efficiencies in wastewater treatment with effective microorganisms and sludge Microbes from a canteen wastewater treatment system
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สิริรัตน์ สุวณิชย์เจริญ
วิจิตรา พิกุลแก้ว, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
น้ำเสีย--การบำบัด
จุลินทรีย์
การศึกษาอิสระ--การจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีจุดประสงค์เพื่อประเมิน /เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ประสิทธิภาพสูงและจุลินทรีย์จากตะกอนของระบบบำบัดน้ำเสียจากโรงอาหารในการลดปริมาณน้ำมัน/ไขมัน และซีโอดี การศึกษาครั้งนี้เก็บตัวอย่างน้าเสียจากบ่อปรับเสถียรของระบบบาบัดน้าเสียจาก โรงอาหารของโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง มาทดสอบประสิทธิภาพการบาบัดน้ามัน/ไขมัน และซีโอดีในแบบจาลองถังย่อยไขมัน โดยแบ่งเป็น 4 ชุดการทดลอง แต่ละชุดการทดลองบรรจุน้าเสียปริมาณ 2 ลิตร ชุดทดลองที่ 1 ไม่มีการเติมอากาศและจุลินทรีย์ ชุดทดลองที่ 2 เติมอากาศ แต่ไม่เติมจุลินทรีย์ ชุดทดลองที่ 3 เติมอากาศและจุลินทรีย์ประสิทธิภาพสูง 3 สูตรการเจือจาง (1:25, 1:15 และสูตรเข้มข้น) และชุดทดลองที่ 4 เติมอากาศและจุลินทรีย์จากตะกอน 3 สูตรการเจือจาง (1:25, 1:15 และสูตรเข้มข้น) ข้อมูลที่รวบรวมได้จากการทดลองจะนำมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้การทดสอบความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดทดลองที่ 4 จุลินทรีย์จากตะกอนที่สูตรการเจือจาง 1:15 มีประสิทธิภาพการบำบัดน้ามัน/ไขมันสูงสุดร้อยละ 58.2 รองลงมาคือชุดทดลองที่ 3, 2 และ 1 ร้อยละ 56.6, 35.9 และ 26.4 ตามลำดับ สาหรับการลดปริมาณซีโอดี ชุดทดลองที่ 3 จุลินทรีย์จากตะกอนที่สูตรการเจือจาง 1:25 มีประสิทธิภาพการบำบัดซีโอดีสูงสุดร้อยละ 43.4 รองลงมาคือ ชุดทดลองที่ 4, 2 และ 1 ร้อยละ 42.7, 27.0 และ 12.8 ตามลำดับ (2) เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบำบัดน้ามัน/ไขมัน และซีโอดี ทั้ง 4 ชุดทดลอง พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ แต่เมื่อพิจารณาความเข้มข้นของจุลินทรีย์และชนิดของจุลินทรีย์ที่แตกต่างกัน ไม่มีผลทาให้ประสิทธิภาพการบาบัดแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ดังนั้น จึงสามารถใช้จุลินทรีย์จากตะกอนของระบบบาบัดน้าเสียจากโรงอาหารทดแทนจุลินทรีย์ประสิทธิภาพสูงได้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10886
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.57 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons