กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10889
ชื่อเรื่อง: กรอบกฎหมายว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal framework for strategic environmental assessment
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มาลี สุรเชษฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พงศกร สง่าผล, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สิ่งแวดล้อม--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาที่มา ความหมาย และหลักการพื้นฐานของการประเมินสิ่งแวดล้อมในระดับยุทธศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์โครงสร้างและตัวบทของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประเมินสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย 3) เพื่อวิเคราะห์หลักการและโครงสร้างของของกฎหมายต่างประเทศว่าด้วยเรื่องของการจัดทำรายงานการประเมินสิ่งแวดล้อมในระดับยุทธศาสตร์ 4) เพื่อนำผลการศึกษาที่ได้มาสู่ข้อเสนอแนะในการกำหนดกรอบกฎหมายว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมในระดับยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า 1) การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ มีที่มาจากหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน และหลักการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมซึ่งประกอบไปด้วย หลักป้องกันล่วงหน้า หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน และหลักธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม 2) กฎหมายของประเทศไทยทั้งในระดับรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติได้มีการนำหลักการพัฒนาที่ยั่งยืนและหลักคุ้มครองสิ่งแวดล้อม มาเป็นหลักการพื้นฐานของการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับโครงการ 3 บทบัญญัติในพิธีสารว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ภายใต้อนุสัญญาการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน ได้นำหลักการพัฒนาที่ยั่งยืนและหลักการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม มาบัญญัติเป็นหลักการพื้นฐานสำหรับการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ 4) ประเทศไทยควรกำหนดให้รัฐต้องมีหน้าที่ในการศึกษาและ จัดทำรายงานการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง โดยเสนอแนะให้มีการแก้ไขบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พุทธศักราช 2560 ในหมวดที่ว่าด้วยหน้าที่ของรัฐ และการเพิ่มเติมบทบัญญัติในส่วนที่ว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อม ระดับยุทธศาสตร์ลงไปในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 รวมไปถึงกฎหมายฉบับอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง เป็นต้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10889
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม41.24 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons