Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10904
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ประดินันท์ อุปรมัย | th_TH |
dc.contributor.author | สุพล บุตรปาน | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-12-19T02:50:20Z | - |
dc.date.available | 2023-12-19T02:50:20Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10904 | en_US |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนว))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดกิจกรรมแนะแนวอาชีพโดยการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาความรู้ เจตคติและทักษะอาชีพช่างเชื่อมโลหะ ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 สาขางานเชื่อมโลหะ วิทยาลัยเทคนิคเลย (2) ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวอาชีพ โดยการจัดการเรียนรู้ เชิงประสบการณ์ที่พัฒนาขึ้น โดยเปรียบเทียบคะแนนผลการทดสอบความรู้ทางช่างเชื่อมโลหะ เจตคติต่ออาชีพ และ ทักษะการทำงานอาชีพช่างเชื่อมโลหะ ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวฯ และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างต่อการจัดกิจกรรมแนะแนวอาชีพโดยการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นปวช. 2 สาขางานเชื่อมโลหะ ปีการศึกษา 2550 โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) ชุดกิจกรรมแนะแนวอาชีพโดยการจัดการเรียนรู้เชิงประสบ การณ์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาความรู้ เจตคติ และทักษะอาชีพช่างเชื่อมโลหะ ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขางานเชื่อมโลหะ วิทยาลัยเทคนิคเลย (2) แบบวัดความรู้เบื้องต้นทางช่างเชื่อมโลหะ (3) แบบวัด เจตคติต่ออาชีพช่างเชื่อมโลหะ (4) แบบสังเกตทักษะการทำงานอาชีพช่างเชื่อมโลหะ (5) แบบประเมินความคิดเห็น นักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลผลการทดลอง แล้วเปรียบเทียบคะแนนความรู้เบื้องต้นทางช่าง เชื่อมโลหะ คะแนนเจตคติต่ออาชีพช่างเชื่อมโลหะ และคะแนนทักษะอาชีพช่างเชื่อมโลหะของนักเรียนก่อนและหลัง การใช้ชุดกิจกรรมดังกล่าว โดยทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ และวิเคราะห์ความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับกิจกรรม แนะแนวอาชีพโดยการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ โดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดกิจกรรมแนะแนวอาชีพโดยการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์มีประสิทธิภาพ ตามความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิทางการแนะแนว โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องที่ .96 (2) หลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว อาชีพโดยการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ที่พัฒนาขึ้นนักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้เบื้องต้นทางช่างเชื่อมโลหะ มีคะแนนเจตคติที่ดีต่ออาชีพช่างเชื่อมโลหะ และมีคะแนนทักษะอาชีพช่างเชื่อมโลหะสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรม แนะแนวอาชีพโดยการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (3) นักเรียนกลุ่มทลองมีความ คิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมแนะแนวอาชีพโดยการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ว่า สามารถพัฒนาความรู้ เจตคติ และ ทักษะอาชีพช่างเชื่อมโลหะอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 1.81-2.00 | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.relation.uri | https://www.doi.org/10.14457/KMUTT.res.2008.59 | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนว--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | การสอนด้วยสื่อ | th_TH |
dc.subject | โลหะ--การเชื่อม--การสอนด้วยสื่อ | th_TH |
dc.title | การพัฒนาชุดกิจกรรมแนะแนวอาชีพโดยการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เพื่อพัฒนาความรู้ เจตคติ และทักษะอาชีพช่างเชื่อมโลหะของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขางานเชื่อมโลหะ วิทยาลัยเทคนิคเลย จังหวัดเลย | th_TH |
dc.title.alternative | The development of a career guidance activities package based on experiential learning for developing the knowledge, attitude, and skills in the Welding Occupation of Second Year Vocational Certificate Students of Loei Technical College, Loei Province | th_TH |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/KMUTT.res.2008.59 | - |
dc.degree.name | ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การแนะแนว) | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The sample group was purposively selected and consisted of 16 second year The objectives of this research were (1) to develop the career guidance activities package based on experiential learning, (2) to study the efficiency of the career guidance activities package based on experiential learning by comparing the score of basic welding knowledge, the score of the attitude for the welding career, and the score of working skills for the welding careers of the sample student group both before and after using the career guidance activities package based on experiential learning, (3) to study the opinion of the sample student group toward the career guidance activities package based on experiential learning vocational certificate students. The research tools are (1) a Career Guidance Activities Package Based on Experimential Learning for Developing the Knowledge, Attitude, and Skills in the Welding Occupation of Second Year Vocational Certificate Students (2) the basic welding knowledge test, (3) the attitude test of welding career, (4) the observation working skill test of welding career, and (5) the opinion assessment test for students in the sample group. The data collected is statistically analyzed and then compared the learning scores of welding career working skills of the students before and after using the career guidance activities package. The statistics used in this research are the mean, the standard deviation and the dependent T-test The findings are as follows: (1) the career guidance activities package based on experiential learning was efficient according to the guidance experts as indicated by the index of concordance of .96 (2) the student score on basic welding knowledge, attitude for the welding career, and working skill for the welding career from the posttest weer significantly higher than those from the pretest at the .05 level. (3) The student's opinions toward the career guidance activities package based on experiential learning are in high level(mean between 1.81 - 2.00) | en_US |
dc.contributor.coadvisor | สมร ทองดี | th_TH |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License