Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10915
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุจินตนา ชุมวิสูตร, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorพิชญาภา ตุลสุข, 2529--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-12-19T07:09:56Z-
dc.date.available2023-12-19T07:09:56Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10915-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง มาตรการลงโทษผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาในการกระทำความผิดทางเพศ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการลงโทษผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา (2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหากฎหมายที่เกี่ยวกับการลงโทษผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ในการกระทำความผิดทางเพศ โดยศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศอังกฤษและประเทศเยอรมัน (3) เพื่อเสนอแนะมาตรการลงโทษผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาในการกระทำความผิดทางเพศ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิจัยจากเอกสาร ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง จากตำรา บทบัญญัติของกฎหมาย หนังสือ บทความ วารสารต่าง ๆ ตลอดจนเอกสารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผลการศึกษาเมื่อวิเคราะห์ปัญหากฎหมายการลงโทษผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา กรณีความผิดเกี่ยวกับเพศ เปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศอังกฤษและประเทศเยอรมันแล้วพบว่า (1) การตีความคำว่า “ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล” ตามมาตรา 285 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ยังไม่มีความชัดเจน ทำให้เกิดปัญหาในการตีความ ซึ่งแตกต่างจากประเทศอังกฤษที่มีการกำหนดรายละเอียดคำนิยามไว้กว้างกว่ากฎหมายไทย และยังมีการกำหนดอายุของ “ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล” ไว้อย่างชัดเจน จึงเสนอแนะมาตรการที่เหมาะสมในการลงโทษผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา กรณีความผิดเกี่ยวกับเพศ เห็นควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285 จากคำว่า “ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล” เป็น “ศิษย์ไม่ว่าจะอยู่ในความดูแลของตนหรือไม่” (2) มาตรการลงโทษทางอาญาในปัจจุบันยังไม่สามารถทำให้ความผิดเกี่ยวกับเพศ ที่เกิดจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาลดลงได้ จึงจำเป็นต้องมีมาตรการเสริมทางอาญาหรือมาตรการทางเลือกที่เหมาะสมอื่นมาปรับใช้ในการลงโทษผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาในคดีเกี่ยวกับเพศ เช่น การห้ามประกอบอาชีพบางอย่าง การจำกัดเขตที่อยู่อาศัย รวมถึงให้มีการจัดเก็บข้อมูลของผู้กระทำความผิด โดยขึ้นทะเบียนผู้กระทำผิดทางเพศเพื่อให้สามารถดำเนินการตรวจสอบและติดตามผู้กระทำผิดได้ (3) การคุ้มครองผู้เสียหายหรือพยานซึ่งเป็นเด็กในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศในการสอบสวนทางปกครองยังไม่มีความเหมาะสม จึงควรให้มีการแก้ไขบทบัญญัติในข้อ 38 แห่งข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยการพิจารณา การประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2553 เรื่องการสอบปากคำพยานผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็ก ให้สามารถนำถ้อยคำของเด็กในชั้นสืบสวนเบื้องต้นมาใช้รับฟังเป็นพยานหลักฐานในชั้นสอบสวนพิจารณาได้ โดยไม่ต้องสอบปากคำพยานเด็กอีกครั้ง เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อจิตใจของเด็กth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectอาชญากรรมทางเพศth_TH
dc.subjectความผิดในคดีเด็กและเยาวชนth_TH
dc.subjectความผิดต่อบุคคลth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมth_TH
dc.titleมาตรการลงโทษผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาในการกระทำความผิดทางเพศth_TH
dc.title.alternativeThe measures to punish educational profession for committing a sex offenseen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeAn Independent Study The measures to punish educational profession for committing a sex offense. The purpose of this study were study in (1) the background concepts and theories regarding to the punishment of educational professions. (2)To analyzes the legal issues that related to the punishment of educational professions for committing a sex offense with compared to the laws of the United Kingdom and German (3) suggest the measures to punish educational profession for committing a sex offense. This independent study is a qualitative study by documentary research and compile information that related in both of Thailand and abroad from texts, provisions of law, books, articles journals, as well as documents from relevant institution. The results of this study when analyzing legal problems about the punishment of educational profession for committing a sex offense compare with the law of the United Kingdom and German have found that (1) the interpretation of the word “Students in charge”. According to Article 285 of Criminal Code that no specific definition has been defined, causing problems in interpretation. This is different from the UK which has comprehensively definition than Thai and also the age of “Student in charge” is clearly And criminal punishment measures at present, it is not possible to reduce sex offenses caused by educational profession. Therefore, it recommends appropriate measures to punish educational profession. for committing a sex offense. So, Article 285 of Criminal Code should be amended from the word “Students in charge” to “Student, whether in charge”. (2) Criminal sanctions currently fail to make sex offenses caused by The educational profession is reduced. Consequently, additional criminal or alternative measures are needed to punish educational profession in cases of gender, for example: Prohibition of certain occupations Restrictions on the residential area Including the information of the offender. By registering sex offenders in order to be able to investigate and monitor offenders (3) The protection of the victim or child witness for sex offenses in an administrative investigation is not appropriate. Therefore, the provisions in section 38 of the Teachers Council of Thailand regulations Regarding the consideration of professional ethics 2010 should be amended about the investigation of witnesses that the victims is children to be able to use the words of the child in the primary investigative level as evidence in the judgement without having to interrogate the child witness again for having not effect on the child's minden_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
166865.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.82 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons