กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10915
ชื่อเรื่อง: | มาตรการลงโทษผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาในการกระทำความผิดทางเพศ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Measures to punish educational profession for committing a sex offense |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุจินตนา ชุมวิสูตร พิชญาภา ตุลสุข, 2529- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี อาชญากรรมทางเพศ ความผิดในคดีเด็กและเยาวชน ความผิดต่อบุคคล การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง มาตรการลงโทษผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาในการกระทำความผิดทางเพศ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการลงโทษผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา (2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหากฎหมายที่เกี่ยวกับการลงโทษผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ในการกระทำความผิดทางเพศ โดยศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศอังกฤษและประเทศเยอรมัน (3) เพื่อเสนอแนะมาตรการลงโทษผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาในการกระทำความผิดทางเพศ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิจัยจากเอกสาร ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง จากตำรา บทบัญญัติของกฎหมาย หนังสือ บทความ วารสารต่าง ๆ ตลอดจนเอกสารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผลการศึกษาเมื่อวิเคราะห์ปัญหากฎหมายการลงโทษผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา กรณีความผิดเกี่ยวกับเพศ เปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศอังกฤษและประเทศเยอรมันแล้วพบว่า (1) การตีความคำว่า “ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล” ตามมาตรา 285 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ยังไม่มีความชัดเจน ทำให้เกิดปัญหาในการตีความ ซึ่งแตกต่างจากประเทศอังกฤษที่มีการกำหนดรายละเอียดคำนิยามไว้กว้างกว่ากฎหมายไทย และยังมีการกำหนดอายุของ “ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล” ไว้อย่างชัดเจน จึงเสนอแนะมาตรการที่เหมาะสมในการลงโทษผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา กรณีความผิดเกี่ยวกับเพศ เห็นควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285 จากคำว่า “ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล” เป็น “ศิษย์ไม่ว่าจะอยู่ในความดูแลของตนหรือไม่” (2) มาตรการลงโทษทางอาญาในปัจจุบันยังไม่สามารถทำให้ความผิดเกี่ยวกับเพศ ที่เกิดจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาลดลงได้ จึงจำเป็นต้องมีมาตรการเสริมทางอาญาหรือมาตรการทางเลือกที่เหมาะสมอื่นมาปรับใช้ในการลงโทษผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาในคดีเกี่ยวกับเพศ เช่น การห้ามประกอบอาชีพบางอย่าง การจำกัดเขตที่อยู่อาศัย รวมถึงให้มีการจัดเก็บข้อมูลของผู้กระทำความผิด โดยขึ้นทะเบียนผู้กระทำผิดทางเพศเพื่อให้สามารถดำเนินการตรวจสอบและติดตามผู้กระทำผิดได้ (3) การคุ้มครองผู้เสียหายหรือพยานซึ่งเป็นเด็กในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศในการสอบสวนทางปกครองยังไม่มีความเหมาะสม จึงควรให้มีการแก้ไขบทบัญญัติในข้อ 38 แห่งข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยการพิจารณา การประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2553 เรื่องการสอบปากคำพยานผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็ก ให้สามารถนำถ้อยคำของเด็กในชั้นสืบสวนเบื้องต้นมาใช้รับฟังเป็นพยานหลักฐานในชั้นสอบสวนพิจารณาได้ โดยไม่ต้องสอบปากคำพยานเด็กอีกครั้ง เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อจิตใจของเด็ก |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10915 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
166865.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.82 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License