กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10916
ชื่อเรื่อง: | บทบาทของพนักงานอัยการในการสอบสวนคดีอาญาวิเคราะห์ตามร่างพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีอาญา พ.ศ. .... |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Prosecutor's role in criminal investigation analyzing the draft of the Criminal Investigation Act B.E. …. |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปวินี ไพรทอง พรรัตน์ มุ่ยละมัย, 2531- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี วิธีพิจารณาความอาญา--ไทย อัยการ การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาหลักการและแนวคิดที่เกี่ยวกับบทบาท ของพนักงานอัยการในการสอบสวนคดีอาญา (2) ศึกษากฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐฝรั่งเศส ประเทศญี่ปุ่น ประเทศอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ที่เกี่ยวกับบทบาทของพนักงานอัยการ ในการสอบสวนคดีอาญา (3) ศึกษา วิเคราะห์ปัญหาและความเหมาะสมของบทบาทของพนักงานอัยการ ในการสอบสวนคดีอาญาตามร่างพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีอาญา พ.ศ. .... (4) เสนอแนะแนวทางใน การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวกับบทบาทของพนักงานอัยการในการสอบสวนคดีอาญา การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิจัยเอกสาร เป็นการศึกษาค้นคว้า ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องของไทย ร่างพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีอาญา พ.ศ. .... และกฎหมายต่างประเทศ ตำราและหนังสือ รายงานการวิจัยต่าง ๆ วิทยานิพนธ์ บทความทางวิชาการ คำพิพากษาศาลฎีกาและสืบค้นทางระบบอินเทอร์เน็ตในเรื่องที่เกี่ยวข้อง รวมถึงวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าทั้งกฎหมายไทยและต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่า (1) ตามหลักการแล้วในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทย พนักงานอัยการไม่มีบทบาทในการสอบสวนคดีอาญาโดยทั่วไป เว้นแต่บางประเภทคดีที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น คดีอาญาที่มีโทษตามกฎหมายไทยที่ได้กระทำลงนอกราชอาณาจักร (2) บทบาทของพนักงานอัยการในการสอบสวนคดีอาญาในสาธารณรัฐฝรั่งเศส ประเทศญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา พนักงานอัยการเป็นผู้รับผิดชอบและมีบทบาทสำคัญในการสอบสวนคดีอาญา โดยมีอำนาจสอบสวนคดีอาญาได้ด้วยตนเอง ส่วนประเทศอังกฤษ แม้พนักงานอัยการไม่มีบทบาทในการสอบสวน แต่ในคดีที่มีความสำคัญ พนักงานอัยการจะให้คำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งแต่เริ่มทำการสอบสวน ประเทศไทยได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีอาญา พ.ศ. .... โดยเพิ่มบทบาทของพนักงานอัยการให้มีอำนาจเข้าร่วมสอบสวนคดีอาญา (3) ผู้ศึกษา วิเคราะห์และพบปัญหาว่าร่างพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีอาญา พ.ศ. .... แม้กำหนดให้พนักงานอัยการมีส่วนร่วมในการสอบสวนคดีอาญา แต่มีบทบัญญัติที่เป็นการจำกัดอำนาจสอบสวนของพนักงานอัยการและไม่สอดคล้องกับบทบาทของพนักงานอัยการในการสอบสวนคดีอาญาในต่างประเทศอยู่บางประเด็น ได้แก่ การจำกัดให้พนักงานอัยการเข้าร่วมสอบสวนในคดีที่พนักงานสอบสวน เป็นข้าราชการตำรวจเท่านั้น การจำกัดไม่ให้พนักงานอัยการเข้าร่วมสอบสวนตั้งแต่เริ่มต้น การจำกัดประเภทคดี ที่พนักงานอัยการเข้าร่วมสอบสวนได้ การจำกัดสถานที่ที่พนักงานอัยการเข้าร่วมสอบสวนได้ การจำกัดบทบาท ของพนักงานอัยการในการสอบสวนเพิ่มเติม (4) ผู้ศึกษาจึงเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีอาญา พ.ศ. .... โดยให้พนักงานอัยการเข้าร่วมสอบสวนในคดีที่พนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเป็นพนักงานสอบสวน ซึ่งรวมถึงพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง ให้พนักงานอัยการเข้าร่วม การสอบสวนได้ตั้งแต่เริ่มต้นทำการสอบสวน ให้พนักงานอัยการเข้าร่วมสอบสวนในคดีที่อัยการสูงสุดเห็นหรือได้รับการร้องขอว่าเป็นคดีที่มีความยุ่งยากซับซ้อนในการสอบสวนหรือในการแสวงหาพยานหลักฐาน หรือคดีที่ส่งผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ หรือคดีที่ประชาชนให้ความสนใจ ให้พนักงานอัยการมีอำนาจไปเข้าร่วมสอบสวนกับพนักงานสอบสวนได้ในทุกสถานที่ ให้พนักงานอัยการร่วมสอบสวนเพิ่มเติมกับพนักงานสอบสวนหรือดาเนินการสอบสวนเพิ่มเติมเองได้ในทุกกรณี เพื่อให้สามารถอานวยความยุติธรรมได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพตรงตามเจตนารมณ์ของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10916 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
166866.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.6 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License