กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10919
ชื่อเรื่อง: | ความสัมพันธ์เชิงสังคมและอำนาจของคนในท้องถิ่นผ่านนวนิยายเรื่อง เขาชื่อกานต์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Social and power relation of local people through a novel "His name is Kan" |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พิศาล มุกดารัศมี สุทัสสา ลายลักษณ์, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น --วิทยานิพนธ์ อำนาจ (สังคมศาสตร์) ในวรรณกรรม--ไทย ผู้นำชุมชน--อิทธิพล |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวคิด รูปแบบและโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสังคมและอำนาจที่ปรากฏในนวนิยายเรื่องเขาชื่อกานต์ (2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวคิด รูปแบบและโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสังคมและอำนาจที่มีผลต่โลกทัศน์ทางการเมืองของคนในท้องถิ่น งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาตีความวรรณกรรมในแบบวิเคราะห์เนื้อหาและแนวความคิดโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสังคมและอำนาจ ระบบอุปถัมภ์ และการทุจริต คอร์รัปชันเป็นกรอบแนวคิดของการวิจัย รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเอ กสาร โดยทำการศึกษาวิจัยเนื้อหาในหนังสือนวนิยายเรื่อง เขาชื่อกานต์ ผลการวิจัยพบว่า (1) นวนิยายเรื่องเขาชื่อกานต์ แต่งขึ้นในช่วงที่การเมืองสังคมไทยเกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นสมัยใหม่ แต่ระบบราชการเข้ามามีบทบาทและอิทธิพลต่อผู้คนในชนบท เกิดทัศนคติแบบเจ้าคนนายคน เกิดช่องว่างระหว่างข้าราชการกับประชาชน ทัศนคติและหลักปฏิบัติของข้าราชการโดยเฉพาะข้าราชการชั้นสูงจะเป็นไปแบบการใช้อำนาจและมีอิทธิพลทำให้การแสดงความคิดเห็นของคน และนักเขียนในยุคนั้น จะมุ่งไปที่การวิพากษ์วิจารณ์เหตุการณ์ สังคม และบ้านเมือง หน้าที่นวนิยายในช่วงนั้น จะเป็นแนวสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย (2) นวนิยายเรื่องเขาชื่อกานต์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงสังคมและอำนาจ ด้านอำนาจ จะเป็นการใช้อำนาจและการมีอิทธิพลของข้าราชการในท้องถิ่น และการใช้อำนาจของผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่ากระทำต่อผู้ที่มีอำนาจน้อยกว่า ด้านระบบระบบอุปถัมภ์ในเรื่อง เขาชื่อกานต์ จำแนกได้ 3 ลักษณะ คือระบบอุปถัมภ์ที่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทั่วไประบบอุปถัมภ์ในวงราชการ ระบบอุปถัมภ์ระหว่างข้าราชการกับนักธุรกิจพ่อค้า และในด้านทุจริตคอร์รัปชัน จะเป็นผลสืบเนื่องจากความสัมพันธ์เชิงสังคมและอำนาจในด้านอำนาจ และด้านระบบอุปถัมภ์ที่เกิดขึ้นในเรื่อง ซึ่งทั้งหมดล้วนมีความสัมพันธ์ที่ทำให้เกิดผลเชื่อมโยงกัน และ (3) ความสัมพันธ์เชิงสังคมและอำนาจเป็นความสัมพันธ์ที่มีผลต่อโลกทัศน์ทางการเมืองของคนในท้องถิ่น คนในท้องถิ่นให้การยอมรับในอำนาจของผู้ที่เหนือกว่า และผู้ที่มีอำนาจน้อยกว่าในท้องถิ่นยังคงต้องการความช่วยเหลือ ต้องการการอุปถัมภ์ค้ำชู และต้องการได้รับการอำนวยความสะดวกจากผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่า |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.(การเมืองการปกครองท้องถิ่น))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10919 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
166901.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.7 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License