Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10921
Title: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
Other Titles: Food safety law issues in sealed containers
Authors: วราภรณ์ วนาพิทักษ์
ปารเมศ อักษรดี, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สราวุธ ปิติยาศักดิ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--วิทยานิพนธ์
การคุ้มครองผู้บริโภค--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--ไทย
ข้อบังคับทางการค้า--ไทย
การบรรจุหีบห่อ--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยอาหาร ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (2) ศึกษาแนวคิดความปลอดภัย การคุ้มครองผู้บริโภค และมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทของประเทศไทย (3) ศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศไทย ประเทศญี่ปุ่น และประเทศสหรัฐอเมริกา (4) หาแนวทางมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคผลิตภัณฑ์อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทในประเทศไทย การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสาร ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาจาก พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 355 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 349 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติความรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 และกฎหมายต่างประเทศได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งรวมถึงกฎหมาย หนังสือ บทความ เอกสารทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์และข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย ผู้วิจัยทำการสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์จากเนื้อหาที่ได้จากการวิจัยเอกสารและการทบทวนวรรณกรรม เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการจัดทำข้อเสนอแนะแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายในเรื่องปัญหากฎหมายเกี่ยวกับอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท จากการศึกษาพบว่า (1) ผู้บริโภคควรได้รับความปลอดภัยจากการบริโภคอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (2) พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ยังไม่มีข้อกำหนดของ HACCP ที่ให้ผู้ประกอบการดำเนินกิจกรรมเพื่อความปลอดภัยในกระบวนการผลิตสินค้า และยังไม่มีอนุคณะกรรมการที่มีความรู้ในด้านอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทไว้โดยเฉพาะ (3)สหรัฐอเมริกาใช้ระบบความปลอดภัย HACCP เป็นกฎหมาย และใช้กฎหมาย SFMA ควบคุมความปลอดภัยอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ในขณะที่ประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยใช้ระบบ HACCP เป็นภาคสมัครใจ (4) ใช้แนวทางแก้ไขโดยจัดตั้งคณะอนุกรรมการอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทไว้โดยเฉพาะและกำหนดให้ผู้ประกอบการดำเนินกิจกรรมเพื่อความปลอดภัยในกระบวนการผลิตสินค้า
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10921
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
166912.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.42 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons