Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10924
Title: การคุ้มครองผู้บริโภคเรื่องฉลากโภชนาการ ศึกษากรณี ฉลากสัญญาณไฟจราจรอาหาร
Other Titles: Consumer protection on food labeling : a case study on traffic light color-coded food labels
Authors: วราภรณ์ วนาพิทักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สราวุธ ปิติยาศักดิ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณัฐโสภิณ ทองประไพ, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ --วิทยานิพนธ์
การคุ้มครองผู้บริโภค--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
อาหาร--การติดฉลาก--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีการคุ้มครองผู้บริโภคเกี่ยวกับฉลากอาหารและฉลากโภชนาการสัญญาณไฟจราจร (2)ศึกษามาตรการการใช้ฉลากโภชนาการสัญญาณไฟจราจรในสหราชอาณาจักร สาธารณรัฐฝรั่งศส สาธารณรัฐเอกวาคอร์และประเทศไทย (3) ศึกษาเปรียบเทียบมาตรการ ใช้ฉลากโภชนาการสัญญาณไฟจราจรในสหราชอาณาจักร สาธารณรัฐฝรั่งเศส สาธารณรัฐเอกวาดอร์กับประเทศไทย (4) หาแนวทางมาตรการการใช้ฉลากโภชนาการ สัญญาณ ไฟจราจรในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสาร ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 182 และ 394 และกฎหมายต่างประเทศอันได้แก่ สหราชอาณาจักร สาธารณรัฐฝรั่งเศส และสาธารณรัฐเอกวาคอร์ ซึ่งรวมถึงกฎหมาย หนังสือ บทความ เอกสารทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และข้อมูลจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย ผู้วิจัยทำการสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเนื้อหาที่ได้จากการวิจัยเอกสารและการทบทวนวรรณกรรม เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการจัดทำ ข้อเสนอแนะแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคเรื่องฉลากโภชนาการสัญญาณไฟจราจรอาหาร จากการศึกษา พบว่า (1) ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับข้อมูลของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่เพียงพอ เพื่อใช้ในการเลือกซื้อสินค้าหรือรูปแบบตามความต้องการได้ (2) มาตรการการ ใช้ฉลากโภชนาการสัญญาณไฟจราจรของสหราชอาณาจักร สาธารณรัฐฝรั่งศส และสาธารณรัฐเอกวาดอร์ เรียกว่า ฉลากโภชนาการสัญญาณไฟจราจรแบบรวม ฉลากนิวตริสกอร์ และฉลากกราฟิก ตามลำดับ มีระบบที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ (3) ฉลากโภชนาการสัญญาณไฟจราจรแบบรวม ฉลากนิวตริสกอร์ และฉลากกราฟิก ส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจข้อมูลโภชนาการได้ง่ายขึ้นกว่าการใช้ฉลากจีดีเอ และฉลากโภชนาการสัญญาณไฟจราจรแบบรวมของสหราชอาณาจักรมีรูปแบบคล้ายฉลากจีดีเอของประเทศไทยมากที่สุด (4) การใช้ฉลากโภชนาการสัญญาณไฟจราจรแบบรวมของสหราชอาณาจักรสอดคล้องกับมาตรา 46 แห่ งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พ.ศ. 2560 และมาตรา 4 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ประเทศไทยจึงควรมีมาตรการฉลากโภชนาการสัญญาณไฟจราจร ตามแนวทางฉลากโภชนาการสัญญาณไฟจราจรแบบรวมของสหราชอาณาจักร โดยยกเลิกประกาศสาธารณสุขฉบับที่ 394 แก้ไขเป็นเรื่องอาหารที่ต้องแสดงฉลากโภชนาการ และค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม แบบฉลากโภชนาการสัญญาณไฟจราจรแบบรวม โคยบังคับใช้กับผลิตภัณฑ์อาหารที่กำหนดไว้ 13 ประเภท
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.(กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10924
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
166914.pdfเอกสารฉบับเต็ม55.57 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons