กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10926
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการและพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตพื้นที่อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to nutritional status and development of young children in Child Development Center in Kaeng Hang Maeo District, Chanthaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วศินา จันทรศิริ
ช่อทิพย์ โกมลวาทิน, 2537-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
กุญชร เจือตี๋
คำสำคัญ: โภชนาการ
เด็ก--แง่โภชนาการ
พัฒนาการของเด็ก--ไทย--จันทบุรี
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ปกครองและเด็กปฐมวัย (2) ศึกษาปัจจัยด้านการเลี้ยงดูของผู้ปกครองเด็กปฐมวัย (3) ศึกษาภาวะโภชนาการและพัฒนาการของเด็กปฐมวัย และ (4) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการและพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตพื้นที่อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ปกครองและเด็กปฐมวัยที่มีอายุตั้งแต่ 2-5 ปี ของศูนย์พัฒนา เด็กเล็ก เขตพื้นที่อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 220 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าสูงสุด ต่ำสุด ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ด้วยค่าสถิติไคสแควร์ และค่าสหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ประมาณ 3 ใน 4 ของบุคคลที่ดูแลเรื่องอาหารและจัดเตรียมอาหารให้เด็กรับประทานคือ บิดา/มารดา เป็นเพศหญิง มีอายุ 20 – 30 ปี ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและมีรายได้ของครอบครัวต่อเดือนน้อยกว่า 15,000 บาท ส่วนใหญ่เด็กมีน้ำหนักตามเกณฑ์ ไม่มีโรคประจำตัว ไม่มีอาการเจ็บป่วยในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา และได้รับวัคซีนครบตามกำหนด (2) ประมาณ 3 ใน 4 ของผู้ปกครองมีความรู้ในระดับปานกลาง มีความตระหนักในระดับมาก และมีการปฏิบัติในระดับดี (3) เด็กปฐมวัยส่วนใหญ่มีภาวะโภชนาการปกติ และมีพัฒนาการด้านร่างกายอยู่ในระดับดี มีพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจอยู่ในระดับดี มีพัฒนาการด้านสังคมและด้านสติปัญญาอยู่ในระดับปานกลาง และ (4) การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการและพัฒนาการของเด็กปฐมวัย พบว่า ระดับการศึกษาสูงสุดของผู้ปกครองมีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของเด็ก การได้รับวัคซีนตามกำหนดของเด็กมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการด้านร่างกาย และอาการเจ็บป่วยในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาของเด็กมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการด้านสังคม ความรู้ของผู้ปกครองมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการด้านสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10926
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Hum-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
166925.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.57 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons