กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10929
ชื่อเรื่อง: การเลือกซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าของผู้บริโภคใน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Purchasing electric vehicle for consumer in Mueang District Khonkaen Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิศนันท์ อุปรมัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
พนมรุ้ง ถนอมพล, 2535-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการธุรกิจและการบริการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
รถยนต์--การจัดซื้อ
รถยนต์ไฟฟ้า--การจัดซื้อ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากรศาสตร์และการเลือกซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น (2) ผลของปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อการเลือกซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น (3) ผลของปัจจัยด้านจิตวิทยาที่มีต่อการเลือกซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชากรที่อาศัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ทั้งสิ้นจำนวน 416,285 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร ยามาเน่ ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 400 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบสโนว์บอลล์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความสัมพันธ์ และสมการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า (1) ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ อาชีพ ที่แตกต่างกันมีความสัมพันธ์ต่อการเลือกซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ส่วน เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา และรายได้ ที่แตกต่างกันไม่มีความสัมพันธ์ต่อการเลือกซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ด้านการจัดจำหน่ายด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร ด้านราคา ด้านกระบวนการ ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านผลิตภัณฑ์ ตามลำดับ (3) ปัจจัยด้านจิตวิทยาที่มีผลต่อการเลือกซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ด้านทัศนคติ ด้านความเชื่อ ด้านการจูงใจ ด้านการเรียนรู้ และด้านการรับรู้ ตามลำดับ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10929
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
167009.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.71 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons