Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10930
Title: การพัฒนาชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเรื่องการเขียนลวดลายไทยเบื้องต้นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2
Other Titles: A development of experience-based instructional packages in the Arts Learning Area on the topic of basic thai decorative designs for Mathayom Suksa I Students in Nakhon Phonom Service Area 2
Authors: ทิพย์เกษร บุญอำไพ
ยงยุทธ แสนมะฮุง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ชัยยงค์ พรหมวงศ์
สมเชาว์ เนตรประเสริฐ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
การสอนด้วยสื่อ
ลายไทย--การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่ม สาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง การเขียนลวดลายไทยเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) ศึกษา ความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียนที่เรียนจากชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ (3) ศึกษาความ คิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อคุณภาพ ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาค เรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนสหราษฎร์รังสฤษดิ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นครพนม เขต 2 จำนวน 39 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1)ชุด การสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง การเขียนลวดลายไทยเบื้องต้น จำนวน 3 หน่วย ได้แก่ หน่วยที่ 5 เรื่องการเขียนลายประจำยาม หน่วยที่ 6 เรื่อง การเขียนลายกระจัง และหน่วยที่ 7 เรื่องการเขียนลายกระหนก (2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อคุณภาพชุดการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าประสิทธิภาพ E,/E, ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า ที ผลการศึกษาวิจัยพบว่า (1) ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ หน่วยที่ 5 หน่วยที่ 6 และ หน่วยที่ 7 มีค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 คือ 80.35/ 81.13 , 80.14 / 79.00.และ 81.17 / 80.00 ตามลำดับ (2) นักเรียนที่เรียนจากชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ มีความก้าวหน้าทางการเรียน เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อคุณภาพชุดการสอน แบบอิงประสบการณ์ในระดับเหมาะสมมาก
Description: วิทยานิพนธ์(ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10930
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.78 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons