กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10937
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การเขียนร้อยแก้ว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วาสนา ทวีกุลทรัพย์ วราภรณ์ ทองจำรูญ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วรรณา บัวเกิด |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ ภาษาไทย--การเขียน--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)--การสอนด้วยสื่อ การเขียน--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)--ไทย--ชัยภูมิ |
วันที่เผยแพร่: | 2553 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่ม สาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การเขียนร้อยแก้ว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เขต พื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการ เรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การเขียนร้อยแก้ว และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนแบบอิง ประสบการณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การเขียนร้อยแก้ว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านราษฎร์ดำเนิน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 38 คน โดยเลือกสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่ม สาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การเขียนร้อยแก้ว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 3 หน่วยประสบการณ์ ประกอบด้วย หน่วยประสบการณ์ที่ 8 การเขียนจดหมายส่วนตัว หน่วย ประสบการณ์ที่ 9 การเขียนเรียงความ และหน่วยประสบการณ์ที่ 10 การเขียนบันทึกความรู้ (2) แบบทดสอบก่อนและหลังเผชิญประสบการณ์แบบคู่ขนาน และ (3) แบบสอบถามความ คิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E,/E, การทดสอบค่าที ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลวิจัยพบว่า (1) ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ที่พัฒนาขึ้นทั้ง 3 หน่วย ประสบการณ์มีประสิทธิภาพ 80.68/78.27, 78.96/77.58 และ 79.30/78.27 ตามลำดับ เป็นไปตาม เกณฑ์ 80/80 (2) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์มีความก้าวหน้าทางการเรียน เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนมีความคิดเห็นว่าชุดการสอนแบบอิง ประสบการณ์มีความเหมาะสมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10937 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 7.69 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License