กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10957
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านแอพพลิเคชั่นของผู้บริโภคในช่วงเกิดโรคเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ในจังหวัดระยอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting consumer's decision to order food delivery via application during the coronavirus 2019 (COVID-19) in Rayong Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภูริพัฒน์ ชาญกิจ
รัตนา ตัณฑะพานิชกุล, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: บริการจัดส่งสินค้า
โปรแกรมประยุกต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่
อาหาร
พฤติกรรมผู้บริโภค
บริการลูกค้า
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะประชากรศาสตร์ของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านแอพพลิเคชั่น (2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านแอพพลิเคชั่นของผู้บริโภค (3) การตัดสินใจเลือกสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านแอพพลิเคชั่นของผู้บริโภค (4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านแอพพลิเคชั่นของผู้บริโภค ในช่วงเกิดโรคเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ในจังหวัดระยอง การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ ผู้บริโภคที่มีประสบการณ์ใช้บริการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านแอพพลิเคชั่น ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดระยอง ซึ่งไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของคอแครน ได้จำนวน 400 ตัวอย่าง สุ่มตัวอย่างแบบตามความสะดวก เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านแอพพลิเคชั่นของผู้บริโภค ในช่วงเกิดโรคเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ในจังหวัดระยอง โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก โดย 3 ลำดับแรก คือด้านผลิตภัณฑ์ รองลงมาคือด้านบุคคล ด้านกระบวนการ (2) ระดับการตัดสินใจเลือกสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านแอพพลิเคชั่นของผู้บริโภค โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก โดย 3 ลำดับแรกคือ ด้านการตัดสินใจซื้อ รองลงมาคือด้านพฤติกรรมหลังการซื้อ และด้านตระหนักถึงปัญหา (3) ผู้บริโภคที่มีสถานภาพ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ที่แตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อการตัดสินใจเลือกสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านแอพพลิเคชั่น แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4) ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านส่งเสริมการตลาด และด้านสิ่งแวดล้อมกายภาพ มีผลต่อการตัดสินใจสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านแอพพลิเคชั่นของผู้บริโภค ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10957
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
167013.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.49 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons