Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10965
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorจินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorสุรศักดิ์ คชภักดี, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสมนึก ลิ้มเจริญ, 2503--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-12-21T07:09:01Z-
dc.date.available2023-12-21T07:09:01Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10965-
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.(เกษตรศาสตร์และสหกรณ์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเสนอโมเดลที่เหมาะสมสำหรับการส่งเสริมเพื่อพัฒนาธุรกิจการเลี้ยงแพะเนื้อของเกษตรกรในจังหวัดชายแดนภาคใต้การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและกึ่งโครงสร้าง ดังนี้ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเก็บข้อมูลจากเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 35,429 ครัวเรือน คำนวณกลุ่มตัวอย่างที่มีความคลาดเคลื่อนร้อยละ 5 เท่ากับ 396 ราย และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเก็บข้อมูลโดยวิธีเจาะจง จาก 1) ผู้บริโภคเนื้อแพะ 100 ราย 2) ร้านอาหารหรือภัตตาคารเนื้อแพะ 40 ราย 3) พ่อค้าแพะเนื้อ 50 ราย และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จาก 1) เจ้าหน้าที่องค์กรภาครัฐที่สนับสนุนและส่งเสริมการเลี้ยงแพะเนื้อ จำนวน 15 ราย และ 2) นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตและการตลาดแพะเนื้อ จำนวน 25 ราย ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ และการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย นับถือศาสนาอิสลาม การเลี้ยงแพะเนื้อเพื่อจำหน่ายใช้วิธีเหมาเป็นรายตัว ราคาเฉลี่ย 3,813 บาทต่อตัว เกษตรกรมีความต้องการส่งเสริมการเลี้ยงแพะเนื้อในระดับมาก การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ และสภาพการเลี้ยงแพะเนื้อกับความต้องการได้รับการส่งเสริมความรู้การเลี้ยงแพะเนื้อ พบว่า ระดับการศึกษา จำนวนแรงงานในครัวเรือนและที่ดินทา การเกษตร มีความสัมพันธ์กับความต้องการได้รับการส่งเสริมความรู้การเลี้ยงแพะเนื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โมเดลที่เหมาะสมสำหรับการส่งเสริมเพื่อพัฒนาธุรกิจการเลี้ยงแพะเนื้อในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เสนอให้เห็นถึงองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน คือ 1) กลยุทธ์การส่งเสริมเพื่อพัฒนาธุรกิจการเลี้ยงแพะเนื้อในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 18 กลยุทธ์ ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาการเลี้ยงแพะในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของภาครัฐ ได้ จากการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก 2) การจัดการห่วงโซ่อุปทานส่งเสริมธุรกิจการเลี้ยงแพะเนื้อ ตั้งแต่ระดับต้นน้ำ เกษตรกรทำหน้าที่ผลิตแพะเนื้อ คือการจัดหาปัจจัยการผลิต การจัดการคุณภาพการผลิตแพะเนื้อ การเลี้ยงแพะเนื้อที่มีคุณภาพพร้อมส่งไปจำหน่าย ระดับกลางน้ำ คือผู้รวบรวมแพะเนื้อและผลิตภัณฑ์แปรรูป เคลื่อนย้ายผลผลิตสู่ตลาดจำหน่ายให้ผู้บริโภค และระดับปลายน้ำ คือกระบวนเคลื่อนย้ายแพะเนื้อสู่ตลาด โดยการจำหน่ายให้พ่อค้าในระดับต่าง ๆ ทำหน้าที่จำหน่ายหรือกระจายสินค้าสู่ผู้บริโภคต่อไป 3) การส่งเสริมเพื่อพัฒนาธุรกิจการเลี้ยงแพะเนื้อ ซึ่งเสนอตามองค์ประกอบของการสื่อสารได้ดังนี้ (1) แหล่งข้อมูลข่าวสารหรือการถ่ายทอด คือ เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ หน่วยงานภาคเอกชนและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาสัตวศาสตร์ ที่มีความรู้ความชำนาญด้านการเลี้ยงแพะเนื้อ (2) ตัวสารหรือข่าวสาร เกี่ยวกับปัจจัยและการจัดการผลิตที่สำคัญด้านการเลือกซื้อแพะและการผสมพันธุ์ การปฏิบัติเลี้ยงดูแพะเนื้อ อาหารและการให้อาหาร และการป้องกันรักษาโรค (3) ช่องทางของการถ่ายทอดและสื่อที่ใช้ คือการศึกษาดูงานฟาร์มแพะเนื้อที่ประสบความสำเร็จ การส่งเสริมผ่านสื่อโทรทัศน์และจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร (4) ผู้รับสารหรือผู้ได้รับการถ่ายทอด คือเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อ ส่วนกระบวนการถ่ายทอดความรู้นั้น ผู้ทำการถ่ายทอดจะเริ่มกระบวนการถ่ายทอดความรู้ในด้านจัดการผลิตแพะเนื้อจากความรู้พื้นฐานที่ง่ายไปสู่ความรู้การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตตามลำดับ โดยวิธีการอธิบายความรู้กับการปฏิบัติจริงในการเลี้ยงแพะเนื้อ และ 4) ผลลัพธ์การดำเนินการนำไปสู่การส่งเสริมเพื่อพัฒนาระบบธุรกิจการเลี้ยงแพะเนื้อในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อย่างชัดเจนth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectแพะ--การเลี้ยงth_TH
dc.subjectเกษตรกร--ไทย--ภาคใต้.th_TH
dc.titleโมเดลการส่งเสริมเพื่อพัฒนาธุรกิจการเลี้ยงแพะเนื้อในจังหวัดชายแดนภาคใต้th_TH
dc.title.alternativeAn extension model for business development of meat goat production in the Southern Border Provincesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to develop and present an appropriate extension model for business development of meat goat production in the Southern Border Provinces. This research study used a mixed-method design including structured and unstructured interview; the sample about 396 farmers from 35,429 farmers with error data at 5 % who raise meat goat in the Southern Border Provinces was collected by structured interviews, and unstructured interviews collected data by purposive method from 1) 100 goat meat consumers, 2) 40 goat meat restaurants, and 3) 50 goat meat sellers. The qualitative data were collected from 1) the government officers that support and promote goat farming 15 people and 2) the groups of scholars and experts in the production and marketing of 25 people. Data analysis included statistical basis for frequency, percentage, mean, standard deviation, Multiple Regression Analysis and SWOT Analysis The analysis revealed that meat goat farmers were Muslim men. The main aim of the meat goat production was for sales. The meat goat was sold individually. The average selling price was 3,813 baht per goat. The need extension on meat goat production was at the high level. The analysis of the relationship between socio-economic factors, the condition of meat goat production, and the extension on knowledge of meat goat farming showed that the relationship between education level, household labor, and agricultural land and the extension on knowledge of meat goat farming was statistically significant (P<0.05).The appropriate extension model for business development of meat goat production in the Southern Border Provinces consisted of 4 important elements. The first element was 18 strategies consistent with the government's development strategies of goat production in the Southern Border Provinces based on the SWOT analysis. The second element was supply chain management of meat goat production including business unit from upstream level, production factor management and quality of meat goat production management prior to the sales of quality meat goat, the meat goat collectors’ moving to the market in the midstream level, and meat goat moving system to the market through dealers in the downstream level prior to the distribution of the products to customers. The third element was about the communication elements within the extension to farmers which consisted of three sub-elements: (1) information sources or senders were the livestock officers (individual) and experts in the field of animal science with the expertise and knowledge in production meat goat; (2) message or news was extension of knowledge transfer for selection, breeding aspects of goat, parenting practice, food, animal feeding, prevention and treatment; (3) the communication channels and media used were a field trip to a successful meat goat farm, promotion of knowledge through television, and promotion of the establishment of farmer groups; (4) the people who received the information or training were meat goat farmers, and the transfer of knowledge started from basic knowledge to technology and production innovation of production meat goat, mainly by explanation combined with a real example, practice and demonstration. The fourth element was operation performances which showed that the business development of meat goat production in the Southern Border Provinces could be translated into action.en_US
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
167051.pdfเอกสารฉบับเต็ม33.8 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons