กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10965
ชื่อเรื่อง: โมเดลการส่งเสริมเพื่อพัฒนาธุรกิจการเลี้ยงแพะเนื้อในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An extension model for business development of meat goat production in the Southern Border Provinces
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุรศักดิ์ คชภักดี, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมนึก ลิ้มเจริญ, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: แพะ--การเลี้ยง
เกษตรกร--ไทย--ภาคใต้.
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเสนอโมเดลที่เหมาะสมสำหรับการส่งเสริมเพื่อพัฒนาธุรกิจการเลี้ยงแพะเนื้อของเกษตรกรในจังหวัดชายแดนภาคใต้การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและกึ่งโครงสร้าง ดังนี้ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเก็บข้อมูลจากเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 35,429 ครัวเรือน คำนวณกลุ่มตัวอย่างที่มีความคลาดเคลื่อนร้อยละ 5 เท่ากับ 396 ราย และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเก็บข้อมูลโดยวิธีเจาะจง จาก 1) ผู้บริโภคเนื้อแพะ 100 ราย 2) ร้านอาหารหรือภัตตาคารเนื้อแพะ 40 ราย 3) พ่อค้าแพะเนื้อ 50 ราย และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จาก 1) เจ้าหน้าที่องค์กรภาครัฐที่สนับสนุนและส่งเสริมการเลี้ยงแพะเนื้อ จำนวน 15 ราย และ 2) นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตและการตลาดแพะเนื้อ จำนวน 25 ราย ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ และการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย นับถือศาสนาอิสลาม การเลี้ยงแพะเนื้อเพื่อจำหน่ายใช้วิธีเหมาเป็นรายตัว ราคาเฉลี่ย 3,813 บาทต่อตัว เกษตรกรมีความต้องการส่งเสริมการเลี้ยงแพะเนื้อในระดับมาก การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ และสภาพการเลี้ยงแพะเนื้อกับความต้องการได้รับการส่งเสริมความรู้การเลี้ยงแพะเนื้อ พบว่า ระดับการศึกษา จำนวนแรงงานในครัวเรือนและที่ดินทา การเกษตร มีความสัมพันธ์กับความต้องการได้รับการส่งเสริมความรู้การเลี้ยงแพะเนื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โมเดลที่เหมาะสมสำหรับการส่งเสริมเพื่อพัฒนาธุรกิจการเลี้ยงแพะเนื้อในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เสนอให้เห็นถึงองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน คือ 1) กลยุทธ์การส่งเสริมเพื่อพัฒนาธุรกิจการเลี้ยงแพะเนื้อในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 18 กลยุทธ์ ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาการเลี้ยงแพะในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของภาครัฐ ได้ จากการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก 2) การจัดการห่วงโซ่อุปทานส่งเสริมธุรกิจการเลี้ยงแพะเนื้อ ตั้งแต่ระดับต้นน้ำ เกษตรกรทำหน้าที่ผลิตแพะเนื้อ คือการจัดหาปัจจัยการผลิต การจัดการคุณภาพการผลิตแพะเนื้อ การเลี้ยงแพะเนื้อที่มีคุณภาพพร้อมส่งไปจำหน่าย ระดับกลางน้ำ คือผู้รวบรวมแพะเนื้อและผลิตภัณฑ์แปรรูป เคลื่อนย้ายผลผลิตสู่ตลาดจำหน่ายให้ผู้บริโภค และระดับปลายน้ำ คือกระบวนเคลื่อนย้ายแพะเนื้อสู่ตลาด โดยการจำหน่ายให้พ่อค้าในระดับต่าง ๆ ทำหน้าที่จำหน่ายหรือกระจายสินค้าสู่ผู้บริโภคต่อไป 3) การส่งเสริมเพื่อพัฒนาธุรกิจการเลี้ยงแพะเนื้อ ซึ่งเสนอตามองค์ประกอบของการสื่อสารได้ดังนี้ (1) แหล่งข้อมูลข่าวสารหรือการถ่ายทอด คือ เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ หน่วยงานภาคเอกชนและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาสัตวศาสตร์ ที่มีความรู้ความชำนาญด้านการเลี้ยงแพะเนื้อ (2) ตัวสารหรือข่าวสาร เกี่ยวกับปัจจัยและการจัดการผลิตที่สำคัญด้านการเลือกซื้อแพะและการผสมพันธุ์ การปฏิบัติเลี้ยงดูแพะเนื้อ อาหารและการให้อาหาร และการป้องกันรักษาโรค (3) ช่องทางของการถ่ายทอดและสื่อที่ใช้ คือการศึกษาดูงานฟาร์มแพะเนื้อที่ประสบความสำเร็จ การส่งเสริมผ่านสื่อโทรทัศน์และจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร (4) ผู้รับสารหรือผู้ได้รับการถ่ายทอด คือเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อ ส่วนกระบวนการถ่ายทอดความรู้นั้น ผู้ทำการถ่ายทอดจะเริ่มกระบวนการถ่ายทอดความรู้ในด้านจัดการผลิตแพะเนื้อจากความรู้พื้นฐานที่ง่ายไปสู่ความรู้การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตตามลำดับ โดยวิธีการอธิบายความรู้กับการปฏิบัติจริงในการเลี้ยงแพะเนื้อ และ 4) ผลลัพธ์การดำเนินการนำไปสู่การส่งเสริมเพื่อพัฒนาระบบธุรกิจการเลี้ยงแพะเนื้อในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อย่างชัดเจน
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.(เกษตรศาสตร์และสหกรณ์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10965
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
167051.pdfเอกสารฉบับเต็ม33.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons