กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1096
ชื่อเรื่อง: | การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาดในการจัดการน้ำเสียและหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ในกระบวนการผลิตของบริษัทเครื่องสุขภัณฑ์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Implementation of cleaner technology to wastewater management and recycle and reuse in processes of a plumbing company |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปีติ พูนไชยศรี สายรุ้ง จินตนา, 2517- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา จักรกฤษณ์ ศิวะเดชาเทพ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ เทคโนโลยีสะอาด น้ำเสีย--การนำกลับมาใช้ใหม่ น้ำเสีย--การจัดการ |
วันที่เผยแพร่: | 2547 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาดในการ (1) ลดปริมาณ น้ำใช้ (2) ลดปริมาณน้ำเสีย (3) ลดค่าใช้จ่ายจากการใช้น้ำ ในกระบวนการผลิตของบริษัทเครื่องสุขภัณฑ์ โดยมีการเปรียบเทียบ ปริมาณน้ำใช้ ปริมาณน้ำเสีย ปริมาณค่าใช้จ่ายจากการใช้น้ำก่อนและหลังการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาดในกระบวนการผลิต ของบริษัทเครื่องสุขภัณฑ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นแผนกการผลิตที่มีการใช้น้ำและเกิดน้ำเสียในกระบวนการผลิต 6 แผนก โดยเลือก ดำเนินการ 3 แผนกหลักที่มีการใช้ก่อให้เกิดน้ำเสียมากที่สุด ซึ่งได้แก่ (1) แผนกผลิตน้ำดิน (2) แผนกหล่อสุขภัณฑ์ และ (3) แผนกผลิตน้ำเคลือบสุขภัณฑ์ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ มิเตอร์วัดปริมาณน้ำ แบบฟอร์มเก็บข้อมูลการใช้น้ำ ดำเนินการเก็บข้อมูลเป็นเวลา 8 สัปดาห์ นำข้อมูลมาวิเคราะห์ จัดอันดับ แผนกที่มีการใช้น้ำและทำ ให้เกิดน้ำเสียจากมากที่สุดไปน้อยที่สุดนำเสนอข้อเสนอแนะเทคโนโลยีสะอาด และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาด ในแผนกที่มีการใช้นําและทําให้เกิดน้ำเสียมากที่สุดเรียงตามอันดับ หลังจากนั้นเก็บข้อมูลหลังการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาด เปรียบเทียบก่อนและหลังใช้เทคโนโลยีสะอาด สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติทดสอบที ในการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่าเทคโนโลยีสะอาดสามารถ (1) ลดปริมาณน้ำใช้ได้ 40.79 % ของปริมาณน้ำใช้ทั้งหมด (2) ลดปริมาณน้ำเสียได้ 55.04 % ของปริมาณน้ำเสียทั้งหมด (3) ลดปริมาณค่าใช้จ่ายจากการใช้น้ำได้ 40.79 % ของปริมาณค่าใช้จ่ายจากการน้ำใช้ทั้งหมด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(การจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1096 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License