กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10974
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมนาแปลงใหญ่ของเกษตรกร อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension guidelines of the paddy collaborative farming of farmers in Bang Krathum district, Phitsanulok Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จิรสุดา ปัญญาไศย, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ข้าว--การผลิต
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย--พิษณุโลก.
การทำนา--ไทย--พิษณุโลก
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพสังคม เศรษฐกิจ ของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตข้าวแบบนาแปลงใหญ่ของเกษตรกร 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการผลิตข้าวแบบนาแปลงใหญ่ 4) ความต้องการและแนวทางการส่งเสริมการเกษตรนาแปลงใหญ่ของเกษตรกร ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่เข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 218 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรทาโร่ยามาเน่ ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 141 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับสลาก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรร้อยละ 53.9 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 56.38 ปี การศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา จำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.00 คน ส่วนมากมีประสบการณ์ในการทำนาเฉลี่ย 25.13 ปี มีพื้นที่ทำนาถือครองเฉลี่ย 34.04 ไร่ ต้นทุนการผลิตต่อไร่เฉลี่ย 3,672.96 บาท รายได้จากการจำหน่ายข้าวต่อไร่เฉลี่ย 6,276.45 บาท จำหน่ายข้าวราคาต่อกิโลกรัมเฉลี่ย 10.61 บาท ผลผลิตข้าวต่อไร่เฉลี่ย 554.18 กิโลกรัม การรับข้อมูลข่าวสารด้านการส่งเสริมการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ส่วนใหญ่มาจากแหล่งสื่อบุคคล (2) เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เมล็ดพันธุ์ที่ใช้มาจากศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวพิษณุโลก วิธีการปลูกข้าวนิยมใช้วิธีการหว่านข้าวแห้ง อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ปลูกไร่ละ 11-20 กิโลกรัม แหล่งน้ำในการผลิตข้าวส่วนมากอาศัยน้ำฝน (3) ปัญหาการผลิตข้าวระดับมากที่สุด ได้แก่ เกษตรกรขาดความรู้เรื่องการใส่ปุ๋ย ขาดสื่อในการส่งเสริมความรู้เรื่องการผลิตข้าวและในพื้นที่มีแปลงเรียนรู้ต้นแบบน้อย ข้อเสนอแนะของเกษตรกรต้องการให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าไปส่งเสริมติดตามงานอย่างต่อเนื่องและมีการตรวจวิเคราะห์ดิน (4) เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยและการลดต้นทุนเพิ่มประสิทธิภาพข้าวอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านช่องทางสื่อบุคคลในระดับมาก โดยวิธีการส่งเสริมในระดับมากที่สุด ได้แก่ การบรรยาย แนวทางการส่งเสริมให้ความรู้แก่เกษตรกรเรื่องการใส่ปุ๋ยตามค่าการวิเคราะห์ดินเพื่อช่วยลดต้นทุนและ เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตข้าว เจ้าหน้าที่ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการทางานร่วมกันส่งเสริม สนับสนุน ติดตามงาน และให้คาปรึกษาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงการจำหน่าย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10974
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
167303.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons