กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10976
ชื่อเรื่อง: การปฏิบัติในการเลี้ยงไก่เนื้อตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อแบบพันธสัญญาในจังหวัดกาญจนบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Broiler rearing practice according to good agricultural practice standard by farmers under contract broiler farming in Kanchanaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
มณฑิชา พุทซาคำ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จิรวดี บางเพียรดี, 2536-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ไก่เนื้อ--มาตรฐาน
การจัดการฟาร์ม
ฟาร์มไก่--ไทย--กาญจนบุรี
เกษตรพันธสัญญา
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร (2) สภาพการเลี้ยงไก่เนื้อของเกษตรกร (3) การได้รับความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่เนื้อตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (4) การปฏิบัติของเกษตรกรในการเลี้ยงไก่เนื้อตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี และ (5) ปัญหาของเกษตรกรเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่เนื้อตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรเลี้ยงไก่เนื้อแบบพันธสัญญาในเขตพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 141 ราย การคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ที่ความคลาดเลื่อน 0.05 ได้จำนวน 105 ราย และสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรอายุเฉลี่ย 50.67 ปี ทำฟาร์มไก่เนื้อเป็นอาชีพหลักและทำไร่เป็นอาชีพเสริม มีขนาดพื้นที่เลี้ยงไก่เนื้อเฉลี่ย 14.73 ไร่ (2) เกษตรกรใช้สายพันธุ์ไก่อาร์เบอร์ เอเคอร์ส ลักษณะโรงเรือนเป็นแบบปิด เลี้ยงแบบมีพันธสัญญากับบริษัท เกษตรกรได้การรับรองมาตรฐานฟาร์ม (3) เกษตรกรเคยเข้าอบรมเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่เนื้อตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี และเกษตรกรได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่เนื้อจากหน่วยงานของกรมปศุสัตว์ เกษตรกรได้รับข่าวสารจากเจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์ เอกสารเผยแพร่ และอินเทอร์เน็ต (4) เกษตรกรมีการปฏิบัติอย่างถูกต้องและเหมาะสมทางด้านองค์ประกอบฟาร์มและการจัดการฟาร์ม ส่วนด้านบุคลากรประเด็นสุขลักษณะส่วนบุคคลยังไม่ผ่าน เพราะเกษตรกรยังมีการป้องกันการนำเชื้อเข้าฟาร์มที่ไม่ถูกต้อง ด้านสุขภาพสัตว์ มีการป้องกันควบคุมโรคไม่เคร่งครัดทำให้เกิดความเสี่ยงของไก่ติดโรคสูง ด้านสวัสดิภาพสัตว์ เกษตรกรปฏิบัติได้ดี ด้านสิ่งแวดล้อม เกษตรกรปฏิบัติได้ดี ส่วนด้านการบันทึกข้อมูล เกษตรกรไม่เห็นถึงความสำคัญของการเก็บรวบรวมข้อมูล หรืออาจยังไม่เข้าใจวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล (5) เกษตรกรยังมีปัญหาในการเลี้ยงไก่เนื้อเกี่ยวกับด้านสุขภาพไก่ในระดับมาก ส่วนด้านอื่น ๆ มีปัญหาน้อย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10976
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
167311.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.69 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons