กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10977
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมการเกษตรตามระบบฝึกอบรมและเยี่ยมเยียนของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดสุราษฏร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Agricultural extension based on training and visiting system of agricultural extension officers in Surat Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
สิทธิชัย ช่วยสงค์, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: การส่งเสริมการเกษตร--ไทย--สุราษฏร์ธานี
การส่งเสริมการเกษตร--การติดตามผล
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ความรู้ แหล่งความรู้ของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรต่อการส่งเสริมการเกษตรตามระบบฝึกอบรมและเยี่ยมเยียน 2) การปฏิบัติงานตามระบบฝึกอบรมและเยี่ยมเยียนของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 3) ความคิดเห็นและความต้องการสนับสนุนการส่งเสริมการเกษตรตามระบบฝึกอบรมและเยี่ยมเยียนของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะต่อการส่งเสริมการเกษตรตามระบบฝึกอบรมและเยี่ยมเยียน และ 5) สภาพแวดล้อมภายใน ภายนอก และแนวทางการส่งเสริมการเกษตรตามระบบฝึกอบรมและเยี่ยมเยียนของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดสุราษฏร์ธานี จานวน 97 ราย ทาการเก็บข้อมูลทั้งหมดโดยใช้แบบสอบถาม ส่วนการสนทนากลุ่มแบบเจาะจง จานวน 17 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่าสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก ผลการวิจัยพบว่าเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 36.40 ปี เงินเดือนเฉลี่ย 22,044 บาท ประสบการณ์ทางานด้านส่งเสริมการเกษตร เฉลี่ย 8.50 ปี จานวนตาบลที่รับผิดชอบเฉลี่ย 2.45 ตาบล 1) ความรู้เกี่ยวกับระบบส่งเสริมการเกษตรพบว่า จากคาถาม15ข้อ ตอบได้ถูกต้องเฉลี่ย 8.62 ข้อ แหล่งความรู้ พบว่าอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะจากสื่อเทคโนโลยี สื่อกิจกรรม และสื่อบุคคล 2) การปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร พบว่าอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะการถ่ายทอดความรู้ การเยี่ยมเยียน การจัดการข้อมูล และการนิเทศงาน 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบส่งเสริมการเกษตรพบว่าอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะการถ่ายทอดความรู้ การเยี่ยมเยียน การจัดการข้อมูล และการนิเทศ ส่วนความต้องการสนับสนุนพบว่าอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะด้านการฝึกปฏิบัติด้านนโยบาย ด้านความรู้ ด้านวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ 4) ปัญหาด้านการปฏิบัติงาน พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะการเยี่ยมเยียนและการสนับสนุน และข้อเสนอแนะการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะการนิเทศงาน และการสนับสนุน 5) สภาพแวดล้อมภายใน พบว่าจุดแข็งคือ เจ้าหน้าที่มีความรู้ ความสามารถ มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ มีแผนปฏิบัติงานที่ชัดเจน แต่จุดอ่อนคือเจ้าหน้าที่มีไม่เพียงพอ ขาดประสบการณ์ในการถ่ายทอดความรู้ ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามแผน ส่วนสภาพแวดล้อมภายนอก พบว่า เกษตรกรมีโอกาสได้เรียนรู้นวัตกรรมใหม่ๆ เกิดการสร้างเครือข่าย แต่มีอุปสรรค ด้านงบประมาณน้อย ขาดสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย และแนวทางการปฏิบัติงาน ควรส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ การปฏิบัติงานตามแผน สนับสนุนงบประมาณในการฝึกทักษะ และพัฒนาฐานข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10977
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
167320.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.39 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons