กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10978
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาสื่อเพื่อการส่งเสริมการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการกำจัดโรคพืชของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในตำบลกุดตาเพชร อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Media development for extension of utilization of Trichoderma for plant disease control by farmers in Kud Ta Phet Sub-district, Lamsonthi district, Lopburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
อรพรรณ เกิดมี, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: เชื้อรา--การใช้ประโยชน์
ไตรโคเดอร์มา
โรคพืช--การควบคุม
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการได้รับสื่อและความต้องการสื่อ 3) การพัฒนาสื่อตามความต้องการสื่อของเกษตรกร 4) การประเมินความพึงพอใจที่มีต่อสื่อประชากรที่ศึกษา คือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ตำบลกุดตาเพชร อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี จำนวน 540 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง 230 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi stage random) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 64.80 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 53.26 ปี ร้อยละ 71.30 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีต้นทุนการปลูกข้าวเฉลี่ย 3,332.77 บาทต่อไร่ มีผลผลิตข้าวเฉลี่ย 310.82 กิโลกรัมต่อไร่ 2) เกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับสื่อจากนักส่งเสริมการเกษตร การอบรม แผ่นพับ มีความต้องการสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทคู่มือ และมีเนื้อหาเรื่องลักษณะและการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา 3)การพัฒนาสื่อตามความต้องการของเกษตรกร มีขั้นตอนการผลิตคือ (1) กำหนดรูปแบบและขอบเขตของเนื้อหา (2) รวบรวมและเรียบเรียงเนื้อหาและภาพ (3) ดำเนินการผลิตสื่อ (4) ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบต้นฉบับ (5) ปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำ (6) นำเสนอต่อเกษตรกรเป้าหมาย (7) ปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ก่อนการเผยแพร่ 4) เกษตรกรมีความพึงพอใจต่อสื่อในระดับมาก ในเรื่องของรูปแบบ และเนื้อหาสาระของสื่อ มีข้อเสนอแนะให้เพิ่มขนาดตัวอักษรให้ใหญ่ขึ้น ลดปริมาณเนื้อหาของบทความลงเพื่อให้เนื้อหามีความกระชับได้ใจความ ควรเพิ่มรูปภาพในเนื้อหาและเพิ่มสีสันให้ปกเพื่อให้คู่มือมีความน่าสนใจ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10978
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
167321.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.15 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons