Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10980
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorเฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorศรุต หลบหลีกพาล, 2527--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-12-21T08:28:49Z-
dc.date.available2023-12-21T08:28:49Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10980-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไป สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร 3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการใช้ชีวภัณฑ์ในการผลิตข้าวของเกษตรกร 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการใช้ชีวภัณฑ์ของเกษตรกร 5) การได้รับและความต้องการในรูปแบบและวิธีการส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ของเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ เกษตรกรผู้ที่ขึ้นทะเบียนผู้ผลิตข้าวกับสำนักงานเกษตรอำเภอบางบ่อ จำนวน 625 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้จากสูตรคำนวณของ ทาโร่ ยาเมาเน่ กำหนดค่าความคลาดเคลื่อนที่ 0.07 ได้ตัวอย่างจำนวน 154 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยใช้วิธีจับฉลาก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ในการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติความถี่ที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 54.75 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5.49 คน มีการจ้างงานแรงงานในการผลิตข้าว พื้นที่การผลิตข้าวเป็นที่ดินเช่า ต้นทุนจากการผลิตข้าวเฉลี่ย 4,442.20 บาทต่อไร่ ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 850 กิโลกรัมต่อไร่ 2) สภาพการผลิตข้าวพบว่า ส่วนใหญ่ทำนาแบบนาหว่าน พันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกเป็นพันธุ์ กข.47 อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 24.82 กิโลกรัมต่อไร่ ซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวจากร้านค้า จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ให้แก่พ่อค้าคนกลางหรือโรงสี ระดับความรุนแรงการระบาดจากโรคข้าวอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ โรคไหม้ โรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคกาบใบแห้ง ระดับความรุนแรงการระบาดจากแมลงศัตรูข้าว อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ เพลี๊ยจั๊กจั่นสีเขียว เกษตรกรส่วนมากใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดโรคข้าวและแมลงศัตรูข้าว 3) การทดสอบความรู้เรื่องชีวภัณฑ์ พบว่าผลคะแนนของเกษตรกรมีระดับความรู้ในด้านการนำไปใช้มากที่สุดร้อยละ 86.64 การใช้ชีวภัณฑ์ของเกษตรกรพบว่าใช้เชื้อราไตรโครเดอร์มาและเชื้อราบิวเวอร์เรียในการผลิตข้าวในระดับมาก ในประเด็นการใช้และการผลิตขยายเชื้อในการผลิตข้าว เกษตรกรมีระดับความพึงพอใจจากแหล่งข้อมูลข่าวสารในระดับมากจากสื่อบุคคลหรือหน่วยงาน มีระดับการได้รับความต้องการจากแหล่งข้อมูลข่าวสารในระดับมากที่สุดจากสื่อบุคคลหรือหน่วยงาน 4) เกษตรกรส่วนมากมีปัญหาในด้านราคา ในประเด็นแหล่งจาหน่ายชีวภัณฑ์และหัวเชื้อชีวภัณฑ์มีราคาสูง 5) เกษตรกรมีความต้องการในรูปแบบช่องทางและวิธีการส่งเสริมในการส่งเสริมจากสื่อบุคคล ได้แก่ หน่วยงานราชการ สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ คู่มือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ โทรทัศน์ วิธีการส่งเสริมแบบฝึกปฏิบัติ ข้อเสนอแนะควรพัฒนาสื่อความรู้ในการใช้ชีวภัณฑ์ในรูปแบบคู่มือภาพประกอบเนิ้อหาth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectข้าว--การผลิตth_TH
dc.subjectการส่งเสริมการเกษตร--ไทย--สมุทรปราการth_TH
dc.subjectยากำจัดศัตรูพืช--ไทยth_TH
dc.titleแนวทางการส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ของเกษตรกรผู้ผลิตข้าวในอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการth_TH
dc.title.alternativeExtension guidelines of bio-pesticide application for farmers in Bang Bo district, Samut Prakan Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research had the objectives to study 1) general, economic, and social conditions of farmers 2) rice production condition of farmers 3) factors concerning the use of bio-pesticide in rice production of farmers 4) problems and suggestions in the use of bio-pesticide of farmers 5) the adoption and needs for the extension format and method of extension of bio-pesticide usage of farmers. The population in this research was 625 farmers who had registered as rice producers with agricultural office of Bang Bo district. The sample size of 154 people was determined by using Taro Yamane formula at the error value of 0.07 and simple random sampling method by drawing the lotto. Data was collected by conduction interview. Computer package was used for analyzing the data. The statistics used included percentage, minimum value, maximum value, standard deviation, and content analysis. The results of the research revealed that 1) most of the farmers were male with an average age of 54.75 years old and graduated from primary school. Their average family members in the household were 5.49 people. They hired labors in rice production process and rented land for rice production. The average rice production cost was 4,442.20 Baht per Rai and the average rice yield was at 850 kilogram per Rai. 2) As for rice production conditions, it showed that most of them were paddy-sown field. The rice that was grown was RD47 with the average seed rate of 24.82 kilogram per Rai. The farmers bought the seeds from seed shops. They sold seeds to middlemen or rice mill. The rice plagues severity level that were at the moderate level included burning plague, brown spot disease, and sheath blight disease. The plague severity level from rice pests was found to be at the moderate level was such as green leafhoppers. Most of the farmers used chemicals in preventing and terminating rice diseases and rice pests. 3) Regarding the test on the knowledge of bio-pesticides, it revealed that the scores that farmers got with the level of knowledge in the adoption were at the highest level at 86.64%. As for bio-pesticides application of farmers, it was found that they used Trichoderma harzianum and Beveraria bassiasna in rice production at the high level. Regarding the aspect of using and producing the leavening agent in rice production, farmers had high satisfaction level from personal or agency media. The level of needs regarding the news and information was at the highest level from personal or agency media. 4) Most of the farmers had price problems regarding the source for bio-pesticides and expensive leavening bio-pesticides. 5) farmers wanted to receive extension channels and methods through personal media such as government agencies, through printing media such as manuals, through electronic media such as television. As for extension method of practice, it was recommended that educational media regarding the usage of bio-pesticides in the form illustrating manuals should be developed.en_US
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
167323.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.43 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons