Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10980
Title: แนวทางการส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ของเกษตรกรผู้ผลิตข้าวในอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Extension guidelines of bio-pesticide application for farmers in Bang Bo district, Samut Prakan Province
Authors: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศรุต หลบหลีกพาล, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: ข้าว--การผลิต
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย--สมุทรปราการ
ยากำจัดศัตรูพืช--ไทย
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไป สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร 3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการใช้ชีวภัณฑ์ในการผลิตข้าวของเกษตรกร 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการใช้ชีวภัณฑ์ของเกษตรกร 5) การได้รับและความต้องการในรูปแบบและวิธีการส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ของเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ เกษตรกรผู้ที่ขึ้นทะเบียนผู้ผลิตข้าวกับสำนักงานเกษตรอำเภอบางบ่อ จำนวน 625 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้จากสูตรคำนวณของ ทาโร่ ยาเมาเน่ กำหนดค่าความคลาดเคลื่อนที่ 0.07 ได้ตัวอย่างจำนวน 154 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยใช้วิธีจับฉลาก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ในการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติความถี่ที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 54.75 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5.49 คน มีการจ้างงานแรงงานในการผลิตข้าว พื้นที่การผลิตข้าวเป็นที่ดินเช่า ต้นทุนจากการผลิตข้าวเฉลี่ย 4,442.20 บาทต่อไร่ ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 850 กิโลกรัมต่อไร่ 2) สภาพการผลิตข้าวพบว่า ส่วนใหญ่ทำนาแบบนาหว่าน พันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกเป็นพันธุ์ กข.47 อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 24.82 กิโลกรัมต่อไร่ ซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวจากร้านค้า จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ให้แก่พ่อค้าคนกลางหรือโรงสี ระดับความรุนแรงการระบาดจากโรคข้าวอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ โรคไหม้ โรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคกาบใบแห้ง ระดับความรุนแรงการระบาดจากแมลงศัตรูข้าว อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ เพลี๊ยจั๊กจั่นสีเขียว เกษตรกรส่วนมากใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดโรคข้าวและแมลงศัตรูข้าว 3) การทดสอบความรู้เรื่องชีวภัณฑ์ พบว่าผลคะแนนของเกษตรกรมีระดับความรู้ในด้านการนำไปใช้มากที่สุดร้อยละ 86.64 การใช้ชีวภัณฑ์ของเกษตรกรพบว่าใช้เชื้อราไตรโครเดอร์มาและเชื้อราบิวเวอร์เรียในการผลิตข้าวในระดับมาก ในประเด็นการใช้และการผลิตขยายเชื้อในการผลิตข้าว เกษตรกรมีระดับความพึงพอใจจากแหล่งข้อมูลข่าวสารในระดับมากจากสื่อบุคคลหรือหน่วยงาน มีระดับการได้รับความต้องการจากแหล่งข้อมูลข่าวสารในระดับมากที่สุดจากสื่อบุคคลหรือหน่วยงาน 4) เกษตรกรส่วนมากมีปัญหาในด้านราคา ในประเด็นแหล่งจาหน่ายชีวภัณฑ์และหัวเชื้อชีวภัณฑ์มีราคาสูง 5) เกษตรกรมีความต้องการในรูปแบบช่องทางและวิธีการส่งเสริมในการส่งเสริมจากสื่อบุคคล ได้แก่ หน่วยงานราชการ สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ คู่มือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ โทรทัศน์ วิธีการส่งเสริมแบบฝึกปฏิบัติ ข้อเสนอแนะควรพัฒนาสื่อความรู้ในการใช้ชีวภัณฑ์ในรูปแบบคู่มือภาพประกอบเนิ้อหา
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10980
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
167323.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.43 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons