Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10985
Title: | กระบวนการพิจารณาคำร้องและการระงับข้อพิพาททางเลือกเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ตามพระราชบัญญติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 |
Other Titles: | Procedures for review of complaints and the alternative dispute resolution of gender unfair discrimination under the Gender Equality Act 2015 |
Authors: | สิริพันธ์ พลรบ พิมลพร อินทนุพัฒน์, 2529- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน --การศึกษาเฉพาะกรณี การระงับข้อพิพาท (กฎหมาย)--ไทย การไกล่เกลี่ย การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษากันคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ (1) แนวคิด ทฤยฎีเกี่ยวกับหลักความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะกรณีความเท่าเทียมระหว่างเพศ (2) ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายที่เกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาคำร้องและการระงับข้อพิพาททางเลือกตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียม พ.ศ. 2558 และกฎหมายต่างประเทศ (3) วิเคราะห์ปัญหาการใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาคำร้องและการระงับข้อพิพาททางเลือกตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียม พ.ศ. 2558 และกฎหมายต่างประเทศ และ (4) เสนอแนะแนวทางแก้ไขปรับปรุงกระบวนการพิจารณาคำร้อง และการระงับข้อพิพาททางเลือกตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากตัวบทกฎหมาย ตำราทางวิชาการ บทความ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ คู่มือปฏิบัติงานและศึกษาค้นคว้าวิจัยข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อรวบรวมข้อมูลทั้งหลายมาทำการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบของประเทศไทยกับต่างประเทศ พร้อมเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา ผลการศึกษาพบว่า (1) มนุษย์ทุกคนต้องถูกรับรองและคุ้มครองภายใต้กฎหมายอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศตามหลักความสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติอันเป็นหลักพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน (2) ซึ่งประเทศไทยได้นำเอาหลักการดังกล่าวมาใช้ เพื่อคุ้มครองหรือชดเชยเยียวยาผู้ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ โดยตราเป็นพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ขึ้น ซึ่งกำหนดให้คณะกรรมการวินิจฉัขการเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ (คณะกรรมการ วลพ.) ทำหน้าที่พิจารณาและวินิจฉัยคำร้องการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ วลพ. ดำเนินกระบวนพิจารณาและเสนอความเห็นในการวินิจฉัยคำร้องให้คณะกรรมการ วลพ. ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้อง และหากพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในเวลาดังกล่าวได้ ให้ขยายได้อีก 2 ครั้ง ๆ ละ 30 วัน โดยให้บันทึกเหตุผลความจำเป็นไว้ (3) จากการวิเคราะห์ปัญหาพบว่า กระบวนการพิจารณา คำร้องตามกฎหมายดังกล่าวก่อนข้างมีขั้นตอนและระยะเวลาอยู่พอสมควร นอกจากนี้ที่ผ่านมาปรากฏว่า คำร้องส่วนใหญ่ใช้เวลาพิจารณาวินิจฉัยเกินกว่า 1 ปี ซึ่งผู้ร้องบางกรณีอาจเห็นว่า ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดนั้น มีระยะเวลานาน และมีความประสงค์ที่จะใช้วิธีการระงับข้อพิพาททางเลือกเพื่อเป็นทางเลือกในการยุติข้อพิพาทของตน โดยเร็ว และ (1) ผู้ศึกษาจึงขอเสนอแนะให้มีการนำการระงับข้อพิพาททางเลือกมาใช้ในกระบวนการพิจารณาคำร้องของคณะกรรมการ วลพ. ตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียม พ.ศ. 2558 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10985 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
167832.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License