กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10989
ชื่อเรื่อง: | ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์และสมรรถนะหลักของทันตบุคลากรในจังหวัดเชียงราย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Association between emotional quotient and core competency of dental personnel in Chiang Rai Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธีระวุธ ธรรมกุล พุทธรักษา สุมงคลธนกุล, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
คำสำคัญ: | ความฉลาดทางอารมณ์ อารมณ์ บุคลากรทางทันตกรรม--สมรรถนะ การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลและความฉลาดทางอารมณ์ (2) ระดับสมรรถนะหลัก และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความฉลาดทางอารมณ์และสมรรถนะหลักของทันตบุคลากรในจังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ ทันตบุคลากร (ทันตแพทย์ และทันตาภิบาล) ที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล และสำนักงานสาธารณสุขในจังหวัดเชียงราย จำนวน 151 คน จากประชากรทั้งหมด 248 คน คำนวณขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณแบบกรณีทราบประชากร และทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายตามสัดส่วนประชากรเครื่องมือเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ (1) ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลและ (2) ความฉลาดทางอารมณ์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 และแบบประเมินสมรรถนะหลักมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 เก็บข้อมูลระหว่างเดือน กรกฎาคม ถึง สิงหาคม 2564 วิเคราะห์ ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเยี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอย ผลการศึกษาพบ (1) บุคลากรที่ปฏิบัติงานค้านทันตสาธารณสุข จังหวัดเชียงราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 33.7 ปี ระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ย 4.529 บาท ระยะเวลาการปฏิบัติงานเฉลี่ย 10.36 ปี ส่วนใหญ่ปฏิบัติงานอยู่ใน โรงพยาบาล ความฉลาดทางอารมณ์ โดยรวมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 88.10 (2) ระดับสมรรถนะหลักในด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ บริการที่ดีการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ จริชธรรม และความร่วมแรงร่วมใจ อยู่ในระดับมาก และ (3) ความฉลาดทางอารมณ์มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะหลักของทันตบุคลากรในจังหวัดเชียงรายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งส่งผลต่อระดับสมรรถนะหลัก ร้อยละ 58.30 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10989 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
168067.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License