กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10990
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้รับบริการชาวไทยที่เดินทางโดยรถไฟสายเหนือ (กรุงเทพ-เชียงใหม่)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Behavior and satisfaction of Thai Customers on Northern Railway (Bangkok-Chiang Mai)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสาวภา มีถาวรกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปุญชรัสมิ์ มหาคุณ, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: การท่องเที่ยวทางรถไฟ--ไทย (ภาคเหนือ)
รถไฟ--ความพอใจของผู้ใช้บริการ
รถไฟ--ไทย
บริการสาธารณะ--ไทย
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมของผู้รับบริการชาวไทยที่เดินทางโดยรถไฟสายเหนือ (กรุงเทพ -เชียงใหม่) (2) ศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการชาวไทยที่เดินทางโดยรถไฟสายเหนือ (กรุ งเทพ - เชียงใหม่ (3) เปรียบเทียบพฤติกรรมของผู้รับบริการชาวไทยที่เดินทางโดยรถไฟสายเหนือ (กรุงเทพฯ-เชียงใหม่) จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (4) เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการชวไทยที่เดินทางโดยรถไฟสายเหนือ (กรุงเทพฯ-เชียงใหม่) จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้รับบริการชาวไทยที่เดินทางโดยรถไฟสายเหนือ (กรุงเทพ-เชียงใหม่) ซึ่งไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน จึงกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรการคำนวณของคอร์แครน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 384 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทคสอบค่าที และค่าเอฟ ผลการศึกษา พบว่า (1) พฤติกรรมของผู้รับบริการชาวไทยส่วนใหญ่เดินทางโดยรับรถไฟสายเหนือ (กรุงเทพฯ-เชียงใหม่) เพียง 1 ครั้งเหตุผลที่เลือกรับบริการ คือ ประหยัดค่าใช้ง่ายและเวลา แหล่งข้อมูลที่จูงใจให้ใช้บริการรถไฟ คือ ทางอินเทอร์เน็ต และปัจจัยที่ทำให้ผู้รับบริการอยากกลับมาใช้บริการ คือ ความปลอดภัยที่ผู้ใช้บริการได้รับ (2) ผู้รับบริการชาวไทยมีระดับความพึงพอใจต่อการเดินทาง โดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการปฏิบัติการของพนักงาน ด้านความปลอดภัย ด้านความเหมาะสมในการจัดตารางเวลาเดินรถ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านบริการรถไฟ ตามลำดับ (3) ผู้รับบริการชาวไทยที่มีเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่างกัน มีพฤติกรรมในการเดินทางโดยรถไฟสายเหนือ (กรุงเทพฯ-เชียงใหม่) ได้แก่ ด้านความถี่ในการเดินทาง สาหตุในการเลือกใช้บริการ แหล่งข้อมูลที่จูงใจให้อยากใช้บริการ การกลับมาใช้บริการ และปัจจัยที่ทำให้อยากกลับมาใช้บริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ(4) ผู้รับบริการชาวไทยที่มีเพศอายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีระดับความพึงพอใจต่อการเดินทางโดยรถไฟสายเหนือ (กรุ งเทพฯ-เชียงใหม่ ได้แก่ ด้านบริการรถไฟ ด้านการปฏิบัติการของพนักงาน ด้านความปลอดภัย ด้านความหมาะสมในการจัดตารางเวลาเดินรถ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านโครงสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวกของสถานีกรุงเทพ ฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10990
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168171.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.73 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons