กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11024
ชื่อเรื่อง: | ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาในรายวิชาวิทยาศาสตร์ งานไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสารที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคท่าหลวงซิเมนต์ไทยอนุสรณ์ จังหวัดสระบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effects of STEM education in Science for Electrical Electronics and Communication Works on problem-solving ability and attitude towards science of high vocational certificate students at Thaluang Cementhaianusorn Technical College in Saraburi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์, 2499- กานต์ชนก บุญน้อม, 2535- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ดวงเดือน สุวรรณจินดา |
คำสำคัญ: | วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน เทคโนโลยี--การศึกษาและการสอน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.วิชาเอกวิทยาศาสตร์ศึกษา--วิทยานิพนธ์ |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักศึกษาก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาในรายวิชาวิทยาศาสตร์งานไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสาร และ (2) เปรียบเทียบเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาในรายวิชาวิทยาศาสตร์งานไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสารกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองคือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1วิทยาลัยเทคนิคท่าหลวงซิเมนต์ไทยอนุสรณ์ จังหวัดสระบุรี ที่เรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์งานไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสาร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1 ห้อง 37 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา รายวิชาวิทยาศาสตร์งานไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสาร ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จำนวน 5 แผน ใช้เวลาสอน20 ชั่วโมง (2) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา และ (3) แบบวัดเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความก้าวหน้าของเฮคผลการวิจัยพบว่า (1) ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษามีค่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีค่าดัชนีความก้าวหน้าของเฮคเท่ากับ 0.45 อยู่ในระดับปานกลาง และ (2) เจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษามีค่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (วิทยาศาสตร์ศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564. |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11024 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
169062.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.64 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License