กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11033
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อความเข้มแข็งของศูนย์ข้าวชุมชนบ้านหัวทุ่ง ตำบลท่าผา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting strength of Ban Hua Thung Community Rice Center, ThaPha Sub-district, Ban Pong District, Rachaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สัจจา บรรจงศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรรธนัย อ้นสำราญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วีรวรรณ อุดมธรรมรักษ์, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: เกษตรกร--การรวมกลุ่ม--ไทย--ราชบุรี
ข้าว -- การปลูก
ข้าว -- การปลูก
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร -- วิทยานิพนธ์
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรของสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนบ้านหัวทุ่ง ตำบลท่าผา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี 2) การจัดการศูนย์ข้าวชุมชนที่มีความเข้มแข็งของศูนย์ข้าวชุมชนบ้านหัวทุ่ง ตำบลท่าผา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี 3) ปัจจัยความเข้มแข็งของศูนย์ข้าวชุมชนบ้านหัวทุ่ง ตำบลท่าผา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี การวิจัยใช้วิธีเชิงสำรวจ ประชากรคือ คณะกรรมการและสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนบ้านหัวทุ่ง ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานเกษตรจังหวัดราชบุรี ปี พ.ศ. 2560 ทั้งหมดจำนวน 21 ราย เก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด โดยการสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการจำแนกและจัดกลุ่มข้อมูล ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้อมูลพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจ พบว่า ส่วนมากเป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วง 51-60 ปี มีสมาชิกในครอบครัว 5-6 คน ส่วนมากไม่มีตำแหน่งในชุมชน ประสบการณ์การทำนา เฉลี่ย 29.86 ปี มีพื้นที่ทำนา เฉลี่ย 19.7 ไร่ ปริมาณผลผลิต เฉลี่ย 850 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนการผลิตข้าวต่อไร่ เฉลี่ย 4,649.1 บาทต่อไร่ 2) การดำเนินการบริหารจัดการศูนย์ข้าวชุมชน พบว่า มีการแต่งตั้งคณะกรรมการอย่างเหมาะสม มีการแบ่งหน้าที่ให้กับสมาชิก มีแผนการดำเนินงาน กำหนดกฎระเบียบข้อบังคับ มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว มีการจัดทำบัญชี มีการตรวจสอบรับรองแปลงพันธุ์ มีการกำหนดเป้าหมายการกระจายพันธุ์ คุณภาพของเมล็ดพันธุ์มีความน่าเชื่อถือ มีการประชาสัมพันธ์ มีการทำบัญชีรวมทั้งการสรุปและการประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์ข้าวชุมชน 3) ปัจจัยความเข้มแข็งของศูนย์ข้าวชุมชน พบว่า (1) ปัจจัยภายในที่ส่งผล ได้แก่ การแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานที่มีความรู้ความสามารถอย่างเหมาะสมในการดำเนินกิจกรรมของศูนย์ข้าวชุมชน ผู้นำกลุ่มเป็นตัวแทนในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายนอก มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านการตลาด ด้านการผลิตด้านการพัฒนาสมาชิกกลุ่ม ด้านการเงินการบัญชี ด้านการส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ เป็นต้น กลุ่มวางแผนการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้า จัดกระบวนการผลิตที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน มีการสรุปและการประเมินผลการดำเนินงานทุกปี ส่งเสริมการผลิตและกระจายเมล็ดข้าวพันธุ์ดีทั้งนี้กลุ่มและในชุมชนคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ต้องมีความน่าเชื่อถือ (2) ปัจจัยภายนอก ที่ส่งผล มีดังนี้ ด้านนโยบายการบริหารประเทศ ได้แก่ การกำหนดเขตความเหมาะสมในการปลูกข้าว การสร้างเครือข่ายชาวนาเพื่อพัฒนาการผลิตข้าว การส่งเสริมการผลิตและกระจายพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี ด้านการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ การสนับสนุนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการแนะนำให้คำปรึกษา สนับสนุนงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์/เครื่องจักร ด้านสภาพแวดล้อมได้แก่ แหล่งผลิตที่มีน้ำและดินที่เหมาะสมในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ด้านปัจจัยการผลิต การมีลานตาก/โรงเก็บเมล็ดพันธุ์เป็นส่วนสำคัญในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ด้านการตลาด มีแหล่งจำหน่าย ราคารับซื้อเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสม.
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11033
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168861.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.28 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons