Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11035
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรีรัตน์ อารีรักษ์สกุล ก้องโลกth_TH
dc.contributor.authorลลิตา อุตส่าห์, 2533-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-01-08T06:49:36Z-
dc.date.available2024-01-08T06:49:36Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11035-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) อธิบายลักษณะของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ และความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความสามารถพิเศษทางด้านกีฬา ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบค้นพบ และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ และความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความสามารถพิเศษทางด้านกีฬา ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบค้นพบกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความสามารถพิเศษทางด้านกีฬา โรงเรียนนาหลวง กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้อง มีนักเรียน 33 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบค้นพบ เรื่อง เศษส่วนและทศนิยม 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนและทศนิยม 3) แบบทดสอบความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนและทศนิยม และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบค้นพบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่เฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์การแปรผัน ความเบ้ ความโด่ง และการวิเคราะห์ความแปรปรวนตัวแปรพหุนามแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า 1) ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ลักษณะการแจกแจงของตัวแปรผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ และความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ของกลุ่มตัวอย่าง 33 คน มีลักษณะคล้ายคลึงกัน มีการแจกแจงแบบเบ้ซ้าย มีความโด่งเล็กน้อย โดยก่อนได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตัวแปรผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับคะแนนเต็มของตัวแปร มีค่าเท่ากับ 38.9 และ 25.91 ตามลำดับ ค่าการกระจายวัดด้วยสัมประสิทธิ์การแปรผันของตัวแปรทั้งสองมีค่าใกล้เคียงกัน คือ 56.297 และ 58.523 ส่วนหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ค่าเฉลี่ยของตัวแปรทั้งสามค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับคะแนนเต็มของตัวแปร มีค่าเท่ากับ 80.15, 75.61 และ 88.94 ตามลำดับ ค่าการกระจายวัดด้วยสัมประสิทธิ์การแปรผันของตัวแปรผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนณิตศาสตร์ และความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ มีค่าใกล้เคียงกัน คือ 53.883 และ 83.996 ในขณะที่ตัวแปรความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีการกระจายต่ำกว่าตัวแปรอื่น โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การแปรผัน 19.684 และ 2) พอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีการกระจายต่ำกว่าตัวแปรอื่น โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การแปรผัน 19.684 และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความสามารถพิเศษทางด้านกีฬา หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบค้นพบสูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบค้นพบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความสามารถพิเศษทางด้านกีฬา สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectคณิตศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)th_TH
dc.titleผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบค้นพบ เรื่อง เศษส่วนและทศนิยม ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ และความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความสามารถพิเศษทางด้านกีฬา โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครth_TH
dc.title.alternativeThe effects of discovery learning activities management on learning achievement and mathematical connection ability and satisfaction towards learning activities in the topic of Fraction and Decimal of Grade 7 students with special talents in sports at school consortium in Bangkok metropolisen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to 1) describe the characteristics of mathematics learning achievements, mathematics connection abilities and satisfaction of Grade 7 students with special talents in sports before and after learning with the discovery learning activities; 2) compare mathematics learning achievements, mathematics connection abilities and satisfaction of Grade 7 students with special talents in sports before and after learning with the discovery learning activities. The research sample consisted of 33 of Grade 7 students with special talents in sports of Naluang School in Bangkok metropolis during the first semester of the academic year 2021, obtained by cluster random sampling. The employed research instruments were 1) learning management plans with discovery learning activities in the topic of Fraction and Decimal; 2) a mathematics learning achievement test in the topic of Fraction and Decimal; 3) a mathematics connection ability test in the topic of Fraction and Decimal; and 4) the satisfaction measurement form towards for the discovery learning activities. Statistics employed for data analysis were the mean, standard deviation, coefficient of variation, skewness, kutosis and repeated MANOVA analysis. The research findings showed that 1) before and after receiving learning activities, the distribution characteristics of Variables for mathematics achievement, mathematics connection ability and satisfaction with learning activities of the 33 samples, they were similar. There is a left-skewed distribution and a little kurtosis. Before receiving the learning activities, Mean of mathematics achievement and mathematics connection ability was relatively low when compared to the full score, which were 38.9 and 25.91, respectively. The distribution was measured with the coefficient of variation for the two variables being similar, 56.297 and 58.523. After received learning activities, Mean of three variables were relatively high compared to their full scores: 80.15, 75.61, and 88.94, respectively. The distribution was measured by the coefficient of variation of the mathematics learning achievement variable and the mathematics connection ability variable were similar values, 53.883 and 83.996, while the satisfaction variable for the learning activities had a lower distribution than the other variables with a coefficient of variation 19.684 and 2) the post-learning mathematics learning achievement and mathematics connection ability of Grade 7 students with special talents in sports who learned with the discovery learning activities was significant higher than their pre-learning and the satisfaction of Grade 7 students with special talents in sports after learning with the discovery learning activities were higher than 70 percentage standard at the statistical significance level of .05.en_US
dc.contributor.coadvisorวินิจ เทือกทองth_TH
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168402.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.86 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons