Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11039
Title: | ปัญหาการลงโทษประหารชีวิต |
Other Titles: | Problems of capital punishment |
Authors: | สุจินตนา ชุมวิสูตร ธานิน มาลาสาย, 2519- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | โทษประหารชีวิต การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อ 1) ศึกษาที่มา แนวคิด ทฤษฎี กฎหมายที่เกี่ยวกับการลงโทษประหารชีวิตทั้งของไทยและต่างประเทศ (2) ศึกษาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในการลงโทษประหารชีวิต (3) เสนอแนวทางแก้ไข ให้สอดคล้องกับหลักกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอังกฤษ (4) นำแนวทางนั้นไปแก้ไขปรับปรุงให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตในประเทศไทย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิจัยเอกสาร กฎหมาย ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จากตำรา บทบัญญัติของกฎหมาย หนังสือ บทความ วารสารต่างๆ ตลอดจนเอกสารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำมารวบรวมสังเคราะห์เพื่อให้ได้ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ หาแนวทางแก้ไขกฎหมายต่อไป ผลการศึกษาพบว่า (1) การลงโทษประหารชีวิตทั้งของไทยและต่างประเทศ ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามแต่ละยุคสมัย ตั้งแต่การลงโทษที่มีลักษณะทารุณโหดร้ายในอดีตจนถึงการลงโทษที่คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนมากขึ้นในปัจจุบัน (2) การลงโทษประหารชีวิตเป็นการทำลายชีวิตมนุษย์ให้ตายไป จึงมีความจำเป็นต้องใช้ระมัดระวังและต้องใช้ความรอบคอบในการพิจารณาคดี และมีความละเอียดถี่ถ้วนในการดำเนินกระบวนพิจารณาทุกขั้นตอนเพื่อมิให้เกิดความผิดพลาดแต่การตัดสินลงโทษประหารชีวิตในบางประเทศยังใช้อย่างตามอำเภอใจ ไร้มาตรการในการป้องกันความผิดพลาด จึงเกิดปัญหาทำให้ผู้บริสุทธิ์ต้องถูกประหารชีวิต ทั้งที่มนุษย์สามารถแก้ไขฟื้นฟูได้หากได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอย่างจริงจังและพร้อมที่จะเปิดโอกาสให้ผู้กระทำความผิดกลับตัวกลับใจ เพื่อคืนคนดีสู่สังคมให้เขาได้ทำประโยชน์แก่ประเทศชาติดีกว่าจะประหารชีวิตซึ่งไม่มีประโยชน์ใดๆ แก่สังคม (3) ในปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลก ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตทั้งในทางกฎหมายและในทางปฏิบัติ เพราะถือว่าเป็นการขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน การที่ประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่คงไว้ซึ่งบทลงโทษประหารชีวิต จึงอาจถูกมองว่าเป็นประเทศที่ไม่เคารพถึงหลักทางด้านสิทธิมนุษยชน (4) จึงเห็นสมควรมีการแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญาให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตและให้ถือว่าโทษจำคุกเป็นโทษสูงสุดที่จะพึงลงได้ตามประมวลกฎหมายอาญา |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11039 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License