Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11040
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณวิภา เมืองถ้ำth_TH
dc.contributor.authorวริญลักษมิ์ อุงจิตต์ตระกูล, 2526-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2024-01-08T07:23:15Z-
dc.date.available2024-01-08T07:23:15Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11040en_US
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการค้นหาความจริงระบบกล่าวหาและระบบไต่สวน (2) ศึกษาบทบาทศาลในการค้นหาความจริงในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบในต่างประเทศ และบทบาทศาลในการค้นหาความจริงของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของประเทศไทย (3) ศึกษาปัญหาและข้อจำกัดในการค้นหาความจริงในศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ (4) ศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาและข้อจำกัดในการค้นหาความจริงของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ ตลอดทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องจากในประเทศและต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่า (1) ประเทศไทยมีบทบัญญัติให้ศาลไต่สวนมูลฟ้องเฉพาะคดีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ ส่วนคดีที่อัยการสูงสุดหรือประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นโจทก์ให้ศาลประทับฟ้องไว้โดยไม่ต้องไต่สวนมูลฟ้อง หรือคดีที่พนักงานอัยการหรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นโจทก์ ไม่จำเป็นต้องไต่สวนมูลฟ้องแต่ถ้าศาลเห็นสมควรจะไต่สวนมูลฟ้องก่อนก็ได้ (2) แม้พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 บัญญัติให้ใช้วิธีพิจารณาระบบไต่สวน แต่ทางปฏิบัติศาลยังคงใช้หลักยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย (3) ผู้พิพากษายังคงมีทัศนคติ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาคาร ข้อ 9 ซึ่งเน้นระบบกล่าวหา ทั้งวาระการแต่งตั้งโยกย้ายเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของผู้พิพากษาในระบบไต่สวนต้องขาดตอนไป (4) ผู้ศึกษาจึงขอเสนอการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการไต่สวนมูลฟ้อง คุณสมบัติผู้พิพากษา และข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการดำเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 เพื่อให้เป็นไปตามหลักการตรวจสอบ หลักฟังความทุกฝ่ายอันจะทำให้ผู้เสียหายหรือประชาชนได้รับการคุ้มครองภายใต้ระบบไต่สวนต่อไปth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectการทุจริตและประพฤติมิชอบ--คดีอาญาth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.titleปัญหาการค้นหาความจริงของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบth_TH
dc.title.alternativeProblems in fact-finding of the criminal court for corruption and misconduct casesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objective of this independent study was to examine (1) the fact-finding process of accusatorial system and inquisitorial system (2) the roles of the court on the fact-finding process of corruption and misconduct cases in abroad and the role of the criminal court for corruption and misconduct cases on the fact-finding process in Thailand (3) the problems and limitations in fact-finding process of the criminal court for corruption and misconduct cases and (4) the solutions of problems and limitations in fact-finding process of the criminal court for corruption and misconduct cases.This independent study was a qualitative research by means of all documentary research related to criminal court of corruption and misconduct cases, code of judicial conduct, and as well as relevant laws in the country and abroad.It was found that (1) Thailand has only provisions that allow the court conducting the preliminary examination in criminal cases filed by injured persons. In the cases filed by either the attorney general or the chairman of national anti-corruption commission, the court renders an order to accept the charge without hearing the other party. In the cases filed by either the public prosecutor or the national anti-corruption commission, there is no need to have preliminary hearing, but if the court deems appropriate, it may be investigated. (2) Although the corruption and misconduct procedures act B.E. 2559 prescribes the use of inquisitorial method, in practice the court still applies the principle of In Dubio Pro Reo. (3) Judges still have an attitude according to the code of criminal procedure and judicial conduct (No.9) focused on the accusatorial system. Additionally, transfer order is one of the causes of interrupted experienced and expert judges in the inquisitorial system. (4) Therefore, the researcher would like to propose an amendment of the law regarding preliminary hearing, judge qualifications, and regulations of the President of the Supreme Court proceeding in corruption and misconduct cases B.E. 2559, in order to be in accordance with principles of auditing and fair hearing, causing injured parties or citizen are protected under the inquisitorial systemen_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.13 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons