กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11040
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการค้นหาความจริงของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems in fact-finding of the criminal court for corruption and misconduct cases
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณวิภา เมืองถ้ำ
วริญลักษมิ์ อุงจิตต์ตระกูล, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: การทุจริตและประพฤติมิชอบ--คดีอาญา
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรร
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการค้นหาความจริงระบบกล่าวหาและระบบไต่สวน (2) ศึกษาบทบาทศาลในการค้นหาความจริงในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบในต่างประเทศ และบทบาทศาลในการค้นหาความจริงของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของประเทศไทย (3) ศึกษาปัญหาและข้อจำกัดในการค้นหาความจริงในศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ (4) ศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาและข้อจำกัดในการค้นหาความจริงของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ ตลอดทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องจากในประเทศและต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่า (1) ประเทศไทยมีบทบัญญัติให้ศาลไต่สวนมูลฟ้องเฉพาะคดีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ ส่วนคดีที่อัยการสูงสุดหรือประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นโจทก์ให้ศาลประทับฟ้องไว้โดยไม่ต้องไต่สวนมูลฟ้อง หรือคดีที่พนักงานอัยการหรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นโจทก์ ไม่จำเป็นต้องไต่สวนมูลฟ้องแต่ถ้าศาลเห็นสมควรจะไต่สวนมูลฟ้องก่อนก็ได้ (2) แม้พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 บัญญัติให้ใช้วิธีพิจารณาระบบไต่สวน แต่ทางปฏิบัติศาลยังคงใช้หลักยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย (3) ผู้พิพากษายังคงมีทัศนคติ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาคาร ข้อ 9 ซึ่งเน้นระบบกล่าวหา ทั้งวาระการแต่งตั้งโยกย้ายเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของผู้พิพากษาในระบบไต่สวนต้องขาดตอนไป (4) ผู้ศึกษาจึงขอเสนอการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการไต่สวนมูลฟ้อง คุณสมบัติผู้พิพากษา และข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการดำเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 เพื่อให้เป็นไปตามหลักการตรวจสอบ หลักฟังความทุกฝ่ายอันจะทำให้ผู้เสียหายหรือประชาชนได้รับการคุ้มครองภายใต้ระบบไต่สวนต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11040
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.13 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons