กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11042
ชื่อเรื่อง: | ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายโดยเจ้าหน้าที่รัฐ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Legal issues regarding prevention and suppression of torture and enforced disappearance |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรรณวิภา เมืองถ้ำ หิรัญญา ปะดุกา, 2503- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การทรมาน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ บุคคลสูญหาย--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความหมาย แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน และปราบปรามการทรมาน และการบังคับให้บุคคลสูญหาย โดยเจ้าหน้าที่รัฐ (2) ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการป้องกัน และปราบปรามการทรมาน และการบังคับให้บุคคลสูญหาย โดยเจ้าหน้าที่รัฐ (3) ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการป้องกัน และปราบปรามการทรมาน และการบังคับให้บุคคลสูญหาย โดยเจ้าหน้าที่รัฐของต่างประเทศและประเทศไทย (1) ศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการป้องกัน และปราบปรามการทรมาน และการบังคับให้บุคคลสูญหาย โดยเจ้าหน้าที่รัฐการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยจากเอกสาร ซึ่งผู้ศึกษาได้ทำการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง กฎหมาย ระเบียบ ประกาศและเอกสารราชการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทรมาน และการกระทำให้บุคคลสูญหาย โดยเจ้าหน้าที่รัฐ จากผลการศึกษาพบว่า (1) ยังคงไม่มีกฎหมายกำหนดให้กระทำทรมานที่เข้าเงื่อนไขตามอนุสัญญาฯ การบังคับบุคคลให้สูญหายเป็นความผิดเฉพาะตามกฎหมายอาญา เป็นเหตุให้ไม่สามารถดำเนินการตามกฎหมายเพื่อเร่งรัดกระบวนการสอบสวนหาข้อมูล และเป็นปัญหาต่อผู้เสียหายและครอบครัวในการเข้าถึงความยุติธรรม (2) ประมวลกฎหมายอาญายังไม่มีบทบัญญัติความผิดแยกต่างหากในกรณีเจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้กระทำซึ่งไม่อาจครอบคลุมถึงการลงโทษเจ้าหน้าที่อันเป็นวัตถุประสงค์สำคัญของอนุสัญญาได้ (3) ประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ยังไม่ปรากฏนิยามคำว่า “ทรมาน” การบังคับบุคคลให้สูญหายที่สอดคล้องตามอนุสัญญาฯ ผู้ศึกษาจึงขอเสนอให้มีการตรากฎหมายระดับพระราชบัญญัติขึ้นเป็นการเฉพาะ โดยให้กระทำทรมานที่เข้าเงื่อนไขตามอนุสัญญาฯ การบังคับบุคคลให้สูญหายเป็นความผิดในทางอาญา รวมถึงมีมาตรการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นมาตรการในด้านการสอบสวนมาตรการในการติดตามตัว มาตรการในการป้องกันและตรวจสอบและมาตรการในการเยียวยา เพื่อให้เจ้าหน้าที่รัฐอยู่ภายใต้การควบคุมตามกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดเจนในทุกขั้นตอน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11042 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.06 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License