Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11045
Title: | การศึกษาการนำโทษประหารชีวิตมาปรับใช้กับความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา |
Other Titles: | Study of the application of the death penalty to rape |
Authors: | ปวินี ไพรทอง สีรุ้ง สินตะคุ, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | การประหารชีวิตและเพชฌฆาต--ไทย การข่มขืน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาเเนวคิด ทฤษฎี และวิวัฒนาการของการลงโทษในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา (2) ศึกษาเปรียบเทียบการลงโทษประหารชีวิตในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ (3) ศึกษาการนำโทษประหารชีวิตมาใช้กับความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา (4) เสนอแนะแนวทางในการเเก้ไขปรับปรุงการนำโทษประหารชีวิตมาปรับใช้กับความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากประมวลกฎหมาย หนังสือกฎหมาย คำพิพากษาศาลฎีกา บทความ วารสาร เอกสารข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งกฎหมาย ของประเทศไทย และกฎหมายของต่างประเทศ โดยน าข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบ เพื่อหาข้อสรุปและข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ผลการศึกษาพบว่า (1) ประเทศไทยได้มีวิวัฒนาการการลงโทษในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (2) จากการศึกษาเปรียบเทียบการลงโทษประหารชีวิตระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ พบว่าประเทศอียิปต์ได้นำโทษประหารชีวิตมาใช้กับผู้ที่กระทำความผิดฐานข่มขืน ประเทศอินเดียกำหนดให้ลงโทษประหารชีวิตในคดีที่ข่มขืนเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี (3) ปัจจุบันการลงโทษประหารชีวิตในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราตามประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 27) ปี พ.ศ. 2562 กำหนดให้ลงโทษประหารชีวิตเฉพาะกรณีที่ผู้กระทำความผิดทำให้ผู้ถูกข่มขืนกระทำชำเราได้รับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตายเท่านั้น แต่การถูกข่มขืนกระทำชำเราถือเป็นสิ่งที่มีผลกระทบ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ เมื่อถูกข่มขืนกระทำชำเราถือเป็นสิ่งที่ร้ายแรงที่สุดของผู้ถูกข่มขืนกระทำชำเรา จึงควรกำหนดกฎหมายให้มีโทษที่รุนแรง (4) เพื่อเป็นการป้องกันและยับยั้งมิให้เกิดการกระทำความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา จึงเสนอแนะให้มีการนำโทษประหารชีวิตมาปรับใช้กับความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11045 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License