กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11060
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับบริการส่งเสริมทันตสุขภาพ กับพฤติกรรมทันตสุขภาพและการเกิดโรคฟันผุของเด็กอายุ 2-3 ปี อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The relationship between receipt of dental health promotion service and dental health behavior and dental caries among 2-3 year-old children in Bang Mun Nak District, Phichit Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิตยา เพ็ญศิรินภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธีระวุธ ธรรมกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
เจียรไน ตั้งติยะพันธ์, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ทันตกรรมเด็ก
ทันตานามัย
ฟันผุในเด็ก
บริการทางทันตกรรมของโรงพยาบาล
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (I) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ปกครอง การได้รับบริการส่งเสริมทันตสุขภาพ พฤติกรรมทันตสุขภาพ และการเกิดโรคฟันผุของเด็กอายุ 2-3 ปี อำเภอบางมูลนากจังหวัดพิจิตร (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ปกครอง กับการได้รับบริการส่งเสริมทันตสุขภาพของเด็กอายุ 2-3 ปี และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับบริการส่งเสริมทันตสุขภาพกับพฤติกรรมทันตสุขภาพ และการเกิดโรคฟันผุในเด็กอายุ 2-3 ปี ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้ปกครองที่ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 36.53 ปี เป็นบิดาหรือมารดาของเด็ก ประกอบอาชีพค้าขาย/ ธุรกิจส่วนตัว และมีการศึกษาระดับมัธยมศึกษามากที่สุด เด็กร้อยละ 57.0 ไม่เคยได้รับบริการส่งเสริมทันตสุขภาพเลย มีเพียงร้อยละ 25.4 ที่ได้รับบริการครบทุกครั้ง จากการตรวจสุขภาพช่องปากเด็ก พบว่า เด็กมีฟันผุร้อยละ 35.8 โดยมีฟันผุมากกว่า 4 ซี่ร้อยละ13.0 พบแผ่นคราบจุลินทรีย์ที่ฟัน 4 ซี่หน้าบน ร้อยละ 23.3 และพบฟันมีรอยขุ่นขาวมากถึงร้อยละ 46.1ในส่วนของคะแนนพฤติกรรม พบว่าคะแนนพฤติกรรมการแปรงฟันให้เด็กอยู่ในระดับดีมาก ส่วนคะแนนพฤติกรรมการบริโภคของเด็ก อยู่ในระดับปานกลาง (2) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ปกครองที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการได้รับบริการส่งเสริมทันตสุขภาพของเด็กพบเฉพาะปัจจัยด้านอายุ และ(3) การได้รับบริการส่งเสริมทันตสุขภาพ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับการแปรงฟันก่อนนอนให้กับเด็ก การบริโภคน้ำหวาน/น้ำอัดลมของเด็ก และการปล่อยให้เด็กนอนหลับคาขวดนม ส่วนการได้รับบริการส่งเสริมทันตสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดฟันผุของเด็ก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (บริหารโรงพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11060
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_159583.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.77 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons