Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11062
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิตยา เพ็ญศิรินภา, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorธีระวุธ ธรรมกุล, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorอัญชลี กิติวิริยกุล, 2525--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-01-09T04:08:12Z-
dc.date.available2024-01-09T04:08:12Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11062-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ส.ม. (บริหารโรงพยาบาล)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561th_TH
dc.description.abstractการวิจัยแบบกึ้งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพและ สภาวะทันตสุขภาพของคนพิการก่อนและหลังการส่งเสริมทันตสุขภาพโดยการเยี่ยมบ้านด้วยทันตบุคลากรและ ไม่ใช่ทันตบุคลากร (2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพและสภาวะทันตสุขภาพคนพิการหลังการส่งเสริม ทันตสุขภาพโดยการเยี่ยมบ้านระหว่างกลุ่มที่ดำเนินการด้วยทันตบุคลากรและไม่ใช่ทันตบุคลากร และ (3) ศึกษา ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ต่อการส่งเสริมทันตสุขภาพคนพิการโดยการเยี่ยมบ้านในอำเภอบางระกำจังหวัดพิษณุโลก ประชากรที่ศึกษา คือ คนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางกาย อาศัยในอำเภอบางระกำ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 84 คน ได้จากการสุ่มพื้นที่ตามขนาดของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่มีทันตบุคลากร กับไม่มี ทันตบุคลากร แล้วจึงเลือกคนพิการตามเกณฑ์ที่สมัครใจ เป็นกลุ่มทดลอง 44 คน กลุ่มควบคุม 40 คน เครื่องมือที่ใช้ เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบบันทึกผลการตรวจประเมินสภาวะทันตสุขภาพ ที่มีค่าความตรง 0.67 และ ความเที่ยง 0.77 เครื่องมือในการทดลองคือโปรแกรมส่งเสริมทันตสุขภาพคนพิการโดยการเยี่ยมบ้าน ซึ่งกลุ่มทดลอง ดำเนินการด้วยทันตบุคลากร ส่วนกลุ่มควบคุมดำเนินการด้วยเจ้าหน้าที่ที่ไม่ใช่ทันตบุคลากร เก็บข้อมูลก่อนและ หลังการได้รับโปรแกรมส่งเสริมทันตสุขภาพ 4 สัปดาห์ วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบที ผลการศึกษาพบว่า (1) พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพ และสภาวะทันตสุขภาพคนพิการด้านคราบ จุลินทรีย์ หลังการส่งเสริมทันตสุขภาพโดยการเยี่ยมบ้านทั้งในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมดีกว่าก่อนการเยี่ยมบ้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 (2) พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพและสภาวะทันตสุขภาพคนพิการหลัง การส่งเสริมทันตสุขภาพโดยการเยี่ยมบ้านระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกัน และ (3) ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ต่อการส่งเสริมทันตสุขภาพคนพิการโดยการเยี่ยมบ้าน พบว่าทั้งทันตบุคลากรและ เจ้าหน้าที่ที่ไม่ใช่ทันตบุคลากรระบุว่าการให้ความรู้เป็นสิ่งสำคัญในการให้ทันดสุขศึกษาคนพิการ และควรมีการ ให้บริการเชิงรุกเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพในคนพิการ ข้อเสนอแนะจากการวิจัยนี้คือหน่วยบริการปฐมภูมิ ที่ไม่มีทันตบุคลากรสามารถนำโปรแกรมส่งเสริมทันตสุขภาพคนพิการโดยการเยี่ยมบ้านไปใช้ เพื่อให้เกิดการดูแล ทันตสุขภาพคนพิการอย่างทั่วถึงในทุกพื้นที่ ส่งผลคนพิการมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectทันตานามัยth_TH
dc.subjectทันตาภิบาลth_TH
dc.subjectคนพิการ--ไทยth_TH
dc.titleผลของการส่งเสริมทันตสุขภาพในคนพิการโดยการเยี่ยมบ้านโดยทันตบุคลากรและไม่ใช่ทันตบุคลากรของอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลกth_TH
dc.title.alternativeThe effects of dental health promotion among disabled persons through home visits by dental and non-dental personnel in Bang Rakam District, Phitsanulok Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis quasi-experimental study aimed: (1) to compare dental health behaviours and dental health status of disabled persons before and after implementing a dental health promotion programme through home visits by dental and non-dental personnel; (2) to compare dental health behaviours and dental health status of disabled persons after implementing a dental health promotion programme through home visits by dental and non-dental personnel; and (3) to study the opinions of personnel on dental health promotion for disabled persons through home visits, in Bang Rakam district, Phitsanulok province. The study was conducted in a sample of 84 persons with physical or mobility impairments living in Bang Rakam district, randomly selected according to the area sizes of sub-district health promoting hospitals with and without dental personnel. Of all participants, 44 and 40 were assigned to experimental and control groups respectively. The dental health promotion programme through home visits was implemented on the experimental group by dental personnel, while for the control group it was carried out by non-dental personnel. Data were collected, using a questionnaire and a dental health status record form with the validity and reliability values of 0.67 and 0.77 respectively, before the intervention and 4 weeks afterwards. Descriptive data analyses as well as t-test were undertaken. The results showed that: (1) dental health behaviours and dental health status of disabled persons in both experimental and control groups, in terms of dental plaque, after implementing the dental health promotion programme through home visits, were significantly better than those before the home visits (p<0.001); (2) dental health behaviours and dental health status of disabled persons in both groups after implementing the dental health promotion programme through home visits were not different; and (3) as per dental and non-dental personnel’s opinions on the dental health promotion programme for disabled persons through home visits, giving dental health education is important for disabled persons; and a proactive approach should be used to increase access to dental health services for such people. Therefore, it is recommended that primary care units without any dental personnel should use the dental health promotion programme for disabled persons through home visits. This is to ensure a thorough coverage of dental health care for better oral health status of such people.en_US
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_159585.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.07 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons