กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11062
ชื่อเรื่อง: | ผลของการส่งเสริมทันตสุขภาพในคนพิการโดยการเยี่ยมบ้านโดยทันตบุคลากรและไม่ใช่ทันตบุคลากรของอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effects of dental health promotion among disabled persons through home visits by dental and non-dental personnel in Bang Rakam District, Phitsanulok Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นิตยา เพ็ญศิรินภา อัญชลี กิติวิริยกุล, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ธีระวุธ ธรรมกุล |
คำสำคัญ: | ทันตานามัย ทันตาภิบาล คนพิการ--ไทย |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยแบบกึ้งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพและ สภาวะทันตสุขภาพของคนพิการก่อนและหลังการส่งเสริมทันตสุขภาพโดยการเยี่ยมบ้านด้วยทันตบุคลากรและ ไม่ใช่ทันตบุคลากร (2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพและสภาวะทันตสุขภาพคนพิการหลังการส่งเสริม ทันตสุขภาพโดยการเยี่ยมบ้านระหว่างกลุ่มที่ดำเนินการด้วยทันตบุคลากรและไม่ใช่ทันตบุคลากร และ (3) ศึกษา ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ต่อการส่งเสริมทันตสุขภาพคนพิการโดยการเยี่ยมบ้านในอำเภอบางระกำจังหวัดพิษณุโลก ประชากรที่ศึกษา คือ คนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางกาย อาศัยในอำเภอบางระกำ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 84 คน ได้จากการสุ่มพื้นที่ตามขนาดของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่มีทันตบุคลากร กับไม่มี ทันตบุคลากร แล้วจึงเลือกคนพิการตามเกณฑ์ที่สมัครใจ เป็นกลุ่มทดลอง 44 คน กลุ่มควบคุม 40 คน เครื่องมือที่ใช้ เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบบันทึกผลการตรวจประเมินสภาวะทันตสุขภาพ ที่มีค่าความตรง 0.67 และ ความเที่ยง 0.77 เครื่องมือในการทดลองคือโปรแกรมส่งเสริมทันตสุขภาพคนพิการโดยการเยี่ยมบ้าน ซึ่งกลุ่มทดลอง ดำเนินการด้วยทันตบุคลากร ส่วนกลุ่มควบคุมดำเนินการด้วยเจ้าหน้าที่ที่ไม่ใช่ทันตบุคลากร เก็บข้อมูลก่อนและ หลังการได้รับโปรแกรมส่งเสริมทันตสุขภาพ 4 สัปดาห์ วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบที ผลการศึกษาพบว่า (1) พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพ และสภาวะทันตสุขภาพคนพิการด้านคราบ จุลินทรีย์ หลังการส่งเสริมทันตสุขภาพโดยการเยี่ยมบ้านทั้งในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมดีกว่าก่อนการเยี่ยมบ้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 (2) พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพและสภาวะทันตสุขภาพคนพิการหลัง การส่งเสริมทันตสุขภาพโดยการเยี่ยมบ้านระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกัน และ (3) ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ต่อการส่งเสริมทันตสุขภาพคนพิการโดยการเยี่ยมบ้าน พบว่าทั้งทันตบุคลากรและ เจ้าหน้าที่ที่ไม่ใช่ทันตบุคลากรระบุว่าการให้ความรู้เป็นสิ่งสำคัญในการให้ทันดสุขศึกษาคนพิการ และควรมีการ ให้บริการเชิงรุกเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพในคนพิการ ข้อเสนอแนะจากการวิจัยนี้คือหน่วยบริการปฐมภูมิ ที่ไม่มีทันตบุคลากรสามารถนำโปรแกรมส่งเสริมทันตสุขภาพคนพิการโดยการเยี่ยมบ้านไปใช้ เพื่อให้เกิดการดูแล ทันตสุขภาพคนพิการอย่างทั่วถึงในทุกพื้นที่ ส่งผลคนพิการมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (บริหารโรงพยาบาล)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11062 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_159585.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.07 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License