กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11078
ชื่อเรื่อง: | การเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมืองที่มีผลกระทบต่อบทบาทของกำนันผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effects of urbanization changing on roles of subdistrict headman and village headman in Phra Pradaeng District, Samut Prakan Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธนศักดิ์ สายจำปา อาทิตย์ สุโขทัย, 2512- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วรวลัญช์ โรจนพล |
คำสำคัญ: | การปกครองท้องถิ่น--ไทย--สมุทรปราการ กำนัน--ไทย--สมุทรปราการ ผู้ใหญ่บ้าน--ไทย--สมุทรปราการ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมืองในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ (2) ศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมืองที่มีต่อบทบาทของกำนันผู้ใหญ่บ้านในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ (3) เสนอแนะแนวทางการปรับเปลี่ยนบทบาทของกำนันผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมือง ผลการวิจัยพบว่า (1) การเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมืองในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นผลมาจากความเป็นเมืองของกรุงเทพมหานครที่มีการขยายตัวสู่พื้นที่ปริมณฑลส่งผลให้ชุมชนดั้งเดิมเริ่มเปลี่ยนเป็นชุมชนหมู่บ้านจัดสรรและตึกสูง พื้นที่เกษตรกรรมเปลี่ยนเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม และมีการย้ายถิ่นฐานของประชาชนต่างถื่นเข้ามาเป็นผู้อยู่อาศัยกลุ่มใหม่ในอำเภอพระประแดงอย่างต่อเนื่อง (2) การเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมืองในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ส่งผลให้เกิดการทับซ้อนของอำนาจหน้าที่ในการดูแลพื้นที่ ทั้งการทับซ้อนและระหว่างหน่วยงานรัฐด้วยกันเอง และการทับซ้อนระหว่างสิทธิส่วนบุคคลกับหน่วยงานรัฐ ส่งผลให้บทบาทและอำนาจหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ถูกลดทอนลง เช่นอำนาจเกี่ยวกับการทะเบียนต่าง ๆ งานทะเบียนราษฎรเกี่ยวกับการแจ้งคนเกิด คนย้าย คนตาย อำนาจการจัดเก็บภาษีอากร เป็นต้น ให้หน่วยงานราชการในพื้นที่ อำเภอ ทำหน้าที่แทน ในราวปี พ.ศ.2542 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล ทำให้อำนาจหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านลดทอนลง(3) กำนันผู้ใหญ่บ้านควรปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ เช่น การนำเทคโนโลยีและสื่อสังคมออนไลน์มาใช้เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารหรือประสานงานกับประชาชนในพื้นที่ เป็นต้น |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.(การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11078 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.28 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License