กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11098
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines for development of Young Smart Farmer in the Upper Northeastern Region
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธิรดา วงษ์กุดเลาะ, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ยุวเกษตรกร
เกษตรกร--ไทย
การพัฒนาการเกษตร--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล สังคม และเศรษฐกิจของเกษตรกรรุ่นใหม่ 2) ความคิดเห็นต่อกระบวนการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ 3) ความพึงพอใจต่อเนื้อหาการเรียนรู้และการนำไปใช้ประโยชน์ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะต่อการเรียนรู้เนื้อหาการจัดกระบวนการเรียนรู้ 5) ความคิดเห็นต่อแนวทางการพัฒนาเกษตรกรุ่นใหม่ ประชากรที่ศึกษามีสองกลุ่มคือเกษตรกรรุ่นใหม่ที่เข้าร่วมโครงการอบรมหลักสูตรเพิ่มศักยภาพ Young Smart Farmer ปี 2561 ของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 4 จังหวัดขอนแก่นจำนวน 50 ราย เก็บข้อมูลทุกรายโดยแบบสัมภาษณ์ และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานเกษตรกรรุ่นใหม่ 13 ราย เก็บข้อมูลทุกรายโดยการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ ค่าความถี่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรรุ่นใหม่มีอายุเฉลี่ย 29.72 ปีส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์ทำการเกษตรเฉลี่ย 6.76 ปี ได้รับข้อมูลข่าวสารด้านเกษตรจากสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศมากที่สุด มีพื้นที่ทำกิจกรรมการเกษตรเฉลี่ย 7.26 ไร่ ทุกคนมีที่ดินเป็นของตนเองและมีการปลูกพืชผัก มีแรงงานด้านการเกษตรเฉลี่ย 2.38 คน และมีรายได้จากภาคการเกษตรต่อปีน้อยกว่า 200,000 บาท 2) เกษตรกรรุ่นใหม่มีความคิดเห็นต่อกระบวนการพัฒนาตั้งแต่ขั้นเตรียมความพร้อมผู้เรียนถึงการจัดกระบวนการเรียนรู้ว่ามีความเหมาะสมมากที่สุดและมีความพึงพอใจมากที่สุด 3) เกษตรกรรุ่นใหม่มีความพึงพอใจมากที่สุดต่อเนื้อหาการจัดกระบวนการเรียนรู้และมีการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในระดับมาก 4) เกษตรกรรุ่นใหม่ส่วนใหญ่มีปัญหาในการเรียนรู้เนื้อหาวิชาการจัดทำแผนธุรกิจมากที่สุด เสนอให้มีการสอนเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจอย่างถ่องแท้ 5) YSF และเจ้าหน้าที่มีความคิดเห็นว่าแนวทางการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ควรพัฒนาในประเด็นความรู้ ทัศนคติ และทักษะตามเกณฑ์การประเมินของกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อพัฒนาตนเองสู่การเป็น Smart Farmer ต่อไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11098
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons